รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 มกราคม 2568
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
หลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ ChulaGENIE แอปพลิเคชัน Generative AI ของจุฬาฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นนวัตกรรม Generative AI แห่งแรกในวงการการศึกษาไทยที่ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคณาจารย์และบุคลากรจุฬาฯ และการเรียนของนิสิต แต่ยังเป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉมการเรียนรู้และการวิจัยในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ทุกมิติของการใช้งาน ChulaGENIE ที่พัฒนาขึ้นสำหรับประชาคมจุฬาฯ กลายเป็นผู้ช่วยมืออาชีพที่ทำให้บุคลากรจุฬาฯ สามารถทำงานได้เร็วขึ้น สร้างสรรค์มากขึ้น และมั่นใจได้ในความปลอดภัยของข้อมูล ปัจจุบันได้เปิดให้คณาจารย์และบุคลากรใช้งานตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา และได้รับเสียงชื่นชมในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและลดความซับซ้อนของการทำงาน พร้อมเตรียมขยายการใช้งานสำหรับนิสิตจุฬาฯ ในเดือนมีนาคม 2568
“ChulaGENIE: Generative AI ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานในจุฬาฯ”
ChulaGENIE นวัตกรรมจุฬาฯ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นตามนโยบาย Chula University of AI โดยผสานความล้ำสมัยของ Google Cloud และ Model Garden บนแพลตฟอร์ม Vertex AI ตอบสนองทุกความต้องการของบุคลากรและนิสิตในทุกมิติ ด้วยคุณสมบัติเด่นที่ครอบคลุม
เลือกใช้โมเดล AI ได้ตามความเหมาะสม:
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของ ChulaGENIE ว่า “จุฬาฯ จับมือกับ Google Cloud ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลก เพื่อเร่งรัดการพัฒนา AI ที่มีความรับผิดชอบ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยในระยะยาว ChulaGENIE จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับการเรียนรู้และการทำงานในมหาวิทยาลัย”
เสียงตอบรับจากผู้ใช้งานจริง ChulaGENIE ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
“ปัจจุบันนอกจากการสอนหนังสือ ผมยังทำงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ หลายครั้งต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปให้ง่ายต่อการเข้าใจ ChulaGenie ช่วยผมรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับบุคลากร นิสิต คณาจารย์ และนักวิจัยในการเข้าถึงฐานข้อมูลหลากหลาย พร้อมการวิเคราะห์ที่แม่นยำและสรุปผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย “ChulaGenie ยังมีจุดเด่นที่เป็น multi-lingual รองรับการใช้งานหลายภาษา ทำให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก การพัฒนาความแม่นยำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่สวยงามและชัดเจน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักวิจัยอย่างมาก”
อ.ดร.วรรษยุต คงจันทร์
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
“สำหรับใครที่ใช้ AI แล้วกลัวความลับรั่วไหล ขอแนะนำ ChulaGenie AI สัญชาติไทยที่ให้ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย ไม่เก็บแชท และไม่ใช้เอกสารหรือข้อมูลของเราไปต่อยอด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการเขียนงานวิจัย ออกข้อสอบ หรือจัดทำเอกสารลับที่ยังไม่ได้เผยแพร่ ก็สามารถใช้งาน ChulaGenie ได้อย่างสบายใจไร้กังวล เพราะความลับไม่มีในโลก…ยกเว้นใช้ ChulaGenie”
ผศ.ดร.พิตติพล คันธวัฒน์
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
“ChulaGenie เป็นเครื่องมือที่ช่วยอาจารย์เตรียมเนื้อหาการเรียนการสอน เช่น สไลด์ บทเรียน และคำถามต่าง ๆ รวมถึงช่วยลดภาระงานเอกสาร เช่น การจัดทำรายงานและสรุปข้อมูล ทำให้อาจารย์สามารถโฟกัสกับการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิตได้อย่างเต็มที่”
คุณมณีรัตน์ ลิ้มสุวัฒนาธำรง
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาฯ
“งานที่ศูนย์เครื่องมือวิจัยฯ เกี่ยวข้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ChulaGENIE เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ช่วยสรุปข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ลดความซ้ำซ้อนของงาน ทำให้เราเห็นถึงพัฒนาการด้านข้อมูลของโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง”
คุณปฐม โกญจนานันท์
เจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ
“เทคโนโลยี AI อย่าง ChulaGENIE สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายในบริบทของการเรียนการสอน เช่น สรุปเนื้อหา สร้างคอนเทนต์ แปลภาษา และช่วยเขียนโค้ด นอกจากนี้ยังช่วยคิดแคปชันในงานประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย”
คุณธงชัย จินดาสิทธางกูร
เจ้าหน้าที่สำนักงาน วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ
“ChulaGENIE ช่วยผมได้มากในเรื่องของการร่างอีเมล ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นและใช้ภาษาที่เป็นทางการได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยคิดไอเดียสำหรับโครงการต่าง ๆ เหมือนมีผู้ช่วยเพิ่มขึ้น ทำให้งานมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาได้มา นอกจากนี้ยังรู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล”
คุณฐนิตา หวังวณิชพันธุ์
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ
“ChulaGENIE เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อชาวจุฬาฯ โดยเฉพาะ ในงานข่าว การคิดประเด็นที่ครอบคลุมความสนใจของคนทั้งหมดเป็นสิ่งท้าทาย ChulaGENIE ช่วยค้นหาและเพิ่มประเด็นที่น่าสนใจในงานข่าวนอกเหนือจากที่เราคิด นอกจากนี้ยังช่วยสรุปข้อความสัมภาษณ์ให้ง่ายต่อการนำไปใช้ ทำให้งานรวดเร็วและตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น”
เพราะทุกการทำงานคือการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ChulaGENIE ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยพลิกโฉมการทำงานของบุคลากรจุฬาฯ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การวิจัย หรือการบริหารงาน สำหรับนิสิตจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการเรียนรู้ พร้อมทั้งมั่นใจได้ในความปลอดภัยของข้อมูลพร้อมใช้งานสำหรับ คณาจารย์และบุคลากรจุฬาฯ แล้ววันนี้
นิสิตจุฬาฯ เตรียมพบกับ ChulaGENIE ได้ในเดือนมีนาคม 2568
📍 เริ่มใช้งานได้ที่ : https://genie.chula.ac.th
📖 เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ : Chula IT Support
ChulaGENIE: ของขวัญพิเศษสำหรับชาวจุฬาฯ เท่านั้น!
รับชมวีดิทัศน์ ChulaGENIE มิติใหม่ Generative AI ของจุฬาฯ และสัมภาษณ์อาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ ผู้ใช้งาน
จุฬาฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ DTLM ยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย
นิสิตบัญชีฯ จุฬาฯ ชนะเลิศ Thailand Accounting Challenge 2025
ครั้งแรกในวงการศึกษา “จุฬาฯ x กรุงไทย” สร้างโอกาสทำงานก่อนจบ ยกระดับทักษะขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรม Inquiry Play ช่วงปิดเทอม สำหรับเด็กวัย 3-8 ปี
ประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 สำหรับการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2568
ประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้