รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มกราคม 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้งานร่วมกับโมเดลภาษาขนาดใหญ่ DTLM เพื่อใช้ในการยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและสังคมไทย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 ณ DTGO CampUs ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยมี ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม รองอธิการบดีจุฬาฯ และนายกิตติคุณ โพธิวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่งานเทคโนโลยี บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ กล่าวรายงานโดยนายโภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ
พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในครั้งนี้เป็นการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภายในและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่บุคลากรและนิสิตจุฬาฯ วัตถุประสงค์ของโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้การติดต่อและสื่อสารในองค์กรเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามด้านการบริหาร การให้บริการด้านการศึกษา การพัฒนาศักยภาพขององค์กรแล้ว ยังสนับสนุนการพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ โดยใช้ทรัพยากรและข้อมูลดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานแล้ว รวมถึงการพัฒนานวัตกรรม AI เช่น ระบบ Retrieval-Augmented Generation (RAG) มาใช้ในการตอบโจทย์ความต้องการของนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ โดยเฉพาะนิสิตชาวจีน
โครงการความร่วมมือในครั้งนี้ยังเน้นการทำงานบนพื้นฐานของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ด้วยการใช้โครงสร้างพื้นฐาน Private Cloud ที่ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการใช้งานในระดับที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ มีความซับซ้อนสูง และมีความปลอดภัยเป็นพิเศษ ความร่วมมือระหว่างสององค์กรในครั้งนี้ยังเป็นต้นแบบที่ดีของการบูรณาการระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICESML 2025 การกำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารระบบการศึกษา
ผู้บริหารศศินทร์เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แลกเปลี่ยนมุมมองอนาคตโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย
พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์
“หนึ่งความเสียหาย หลายฝ่ายเกี่ยวข้อง: สำรวจสัญญาก่อสร้างภาครัฐ” คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาให้ความรู้ในมุมมองทางกฎหมายและวิศวกรรม
“ในทรงจำนำทางอันรางเลือน” นิทรรศการข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ ให้ความรู้ในแง่มุมหลากหลายของความทรงจำ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้