ข่าวสารจุฬาฯ

รัฐมนตรี อว.จับมือจุฬาฯ พัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การศึกษาตลอดชีพ เพื่อสู้ความเหลื่อมล้ำและรับมือสังคมสูงวัย

เมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ได้เดินทางมาพบปะและหารือกับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย การศึกษาและการวิจัยในระดับอุดมศึกษา โดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี   จุฬาฯ พร้อมตัวแทนผู้บริหารและคณาจารย์นำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Transformation) ที่มุ่งเน้นในสามเรื่องหลักๆ คือ การเรียนรู้ การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม

ในโอกาสนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ให้สัมภาษณ์และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 จากนั้น ดร.สุวิทย์ ได้พบปะพูดคุยกับตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ณ Plearn Space ชั้นล่าง อาคารเปรมบุรฉัตร

การพบปะและหารือกับผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ ในครั้งนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ได้นำเสนอนโยบายของกระทรวงแห่งใหม่ต่อผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเน้นใน 3 ด้านคือ การสร้างและพัฒนาคน การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ และการสร้างและพัฒนานวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงในโลกศตวรรษที่ 21 ทำให้การศึกษาวิจัยในรูปแบบเดิมไม่ตอบโจทย์ความต้องการอีกต่อไป สถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองครั้งใหญ่ การมาเยี่ยมจุฬาฯ เป็นที่แรกก็เพื่อปักหมุดให้เห็นว่ากระทรวงการอุดมศึกษาฯ ตั้งใจจะทำงานกับจุฬาฯ เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

“จุฬาฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่แล้ว เมื่อประเทศต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ปัจจุบันเกิด Disruption ครั้งใหญ่ ทำให้ต้องปฏิรูปอีกครั้ง ซึ่งกระทรวง อว. มองว่าจุฬาฯ คือเสาหลักแห่งภูมิปัญญาของประเทศชาติจึงได้มาเริ่มต้นการสร้างคุณค่าร่วมกัน (co-creation) ของอุดมศึกษาที่นี่”

ดร.สุวิทย์ กล่าวว่ากระทรวง อว.จะปรับบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวยสนับสนุน (enabler) ไม่ใช่ผู้คุ้มกฏ (regulator) และช่วยปลดล็อคศักยภาพของทุนทางปัญญาในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ อุดมศึกษาต้องตอบโจทย์สังคมในแง่ของการ upskill (เพิ่มทักษะ) และ reskill (สร้างทักษะใหม่) สร้าง smart citizen ให้แรงงานที่มีความจำเป็นต้องปรับตัว ตลอดจนการเปิดพื้นที่การศึกษาให้ผู้สูงวัย และผู้เรียนที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบการศึกษาดั้งเดิม ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างระบบนิเวศยังเอื้อต่อการรังสรรค์นวัตกรรมในมหาวิทยาลัย โดยยกตัวอย่างแนวทางของการจัดตั้งกองทุนยุวสตาร์ทอัพ เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการนวัตกรรม และสร้างมโนทัศน์ของการเป็นผู้ประกอบการให้คนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวง อว. ยังชูแคมเปญใหม่คือ “Innovated in Thailand” เน้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในทุกระดับของประเทศและให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยสร้างนวัตกรรมกับผู้ประกอบการ เช่น Startups กับ SMEs ต้องร่วมกันสร้างผลผลิตและคุณค่าใหม่ให้เศรษฐกิจและสังคม

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า