รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มกราคม 2561
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 2 ของประเทศไทย อันดับ 90 ของโลก จากการจัดอันดับโดย UI GreenMetric Ranking of World University 2017 โดยมีมหาวิทยาลัยต่างๆเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 619 สถาบัน จาก 76 ประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าทุกปี โดยจุฬาฯ ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทยใน 2 ด้าน ได้แก่ การขนส่ง และการจัดการขยะ
ติดตามผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเพิ่มเติมได้ที่ greenmetric.ui.ac.id/overall-ranking-2017
รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวในปีนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 5,754 คะแนน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณา 6 กลุ่ม และสัดส่วนของคะแนนในแต่ละกลุ่มเช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา สิ่งที่แตกต่างจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวปีที่แล้วคือ ในปีนี้คะแนนที่มหาวิทยาลัยได้นั้นยากขึ้นเนื่องจากมีการให้คะแนนที่ลงรายละเอียดในเชิงปริมาณมากขึ้นในทุกกลุ่ม เช่น ในด้านพลังงานทดแทน ต้องให้ข้อมูลว่าพลังงาน solar cell สามารถผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของพลังงานที่ใช้ไป อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของคะแนนที่จุฬาฯได้รับในปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยจุฬาฯได้คะแนนสูงขึ้นในเกณฑ์การพิจารณา 4 กลุ่ม ได้แก่ Energy and Climate Change, Waste, Water และ Transportation โดยในด้าน Transportation (การขนส่ง) จุฬาฯ ได้คะแนนอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทย อันดับที่ 25 ของโลก เนื่องจากจุฬาฯมีระบบการขนส่งสาธารณะในมหาวิทยาลัย ทั้งจักรยาน CU Bike และรถ Shuttle Bus ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ารองรับการใช้บริการของนิสิต คณาจารย์และบุคลากรจำนวนมาก ส่วนในด้าน Waste (การจัดการขยะ) จุฬาฯ ได้คะแนนอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับ 121 ของโลก ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ Chula Zero Waste ซึ่งมีการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรณรงค์ในเรื่องการลดใช้ถุงพลาสติก ช่วยทำให้ขยะลดลง เป็นต้น
รศ.ดร.บุญไชย กล่าวเพิ่มเติมว่า จุฬาฯ ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้คะแนนในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวมากไปกว่านี้เนื่องจากในหลายตัวชี้วัด จุฬาฯไม่สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ เช่น ในด้าน Setting and Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) จุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การจะได้คะแนนในส่วนนี้มากขึ้นอีกหนึ่งขั้น เท่ากับว่าจุฬาฯจะต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 1 % ซึ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังคงมุ่งมั่นพัฒนาในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการพลังงาน ส่วนในด้าน Education ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จุฬาฯ มีรายวิชาและโครงการวิจัยต่างๆ ที่สอดแทรกในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ชื่อรายวิชาหรือชื่อโครงการวิจัยไม่ได้บ่งบอกว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอนาคตน่าจะมีกระบวนการการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้จากอาจารย์ผู้สอนหรือผู้ทำวิจัยเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งจะทำให้คะแนนของจุฬาฯในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
“ตามผังแม่บทจุฬาฯ 100 ปี ได้มีการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยสีเขียวและการเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการจัดการพื้นที่สีเขียว การจัดหาพลังงานทดแทน การจัดการพลังงาน การจัดการขยะ การจัดการน้ำ การขนส่ง ฯลฯ เป็นการตอบสนองพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ได้ทำเพื่อมุ่งไปที่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นสำคัญ” รศ.ดร.บุญไชย กล่าวในที่สุด
จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกระดับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ
นิสิตเก่าศศินทร์ พลิกโฉมธุรกิจรับสร้างบ้าน เน้นนวัตกรรมเพื่ออยู่อาศัยอย่างยั่งยืน”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเจตนารมณ์ “No Gift Policy” มุ่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านการทุจริต
จุฬาฯ จับมือ ม.มหิดล “Together for Sustainable Tomorrow” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ ชวนร่วม โครงการ “Interactive Training and Gaming Simulation for Green Transition”
จุฬา และ สสว.ลงนามความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “One Click”นำ AI ยกระดับ SMEs เข้าถึงสินเชื่อสีเขียวในคลิกเดียว
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้