รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กุมภาพันธ์ 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ความเป็นนานาชาติ
ทีมคณะสำรวจไทย ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เดินทางถึงสถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ที่แอนตาร์กติก และเริ่มเก็บตัวอย่างดินตะกอนเพื่อขยายผลศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศแอนตาร์กติก พบว่าปีนี้น้ำแข็งละลายมากกว่าปีก่อนๆ อย่างน่าตกใจ
การสำรวจในปีนี้ ทางโครงการฯ ได้ส่งนักวิจัย 3 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยบูรพา และช่างภาพ 1 คน เพื่อไปร่วมสำรวจกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน คณะที่ 41 (CHINARE 41) ของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) โดยเดินทางถึงแอนตาร์กติกเมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเริ่มทำการเก็บตัวอย่างทันที เพื่อศึกษาผลกระทบของขยะทะเล ไมโครพลาสติก และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อสัตว์ทะเล และระบบนิเวศทางทะเลโดยช่วงสองวันที่ผ่านมาได้ทำการเก็บตัวอย่างดิน และมูลของแมวน้ำและเพนกวินรวมทั้งวัดมลพิษทางอากาศของที่บริเวณแอนตาร์ติกด้วย
จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าน้ำแข็งในหลายๆ ที่ของบริเวณแอนตาร์ติกได้ละลายและหายไป เมื่อเทียบกับ 11 ปีที่แล้วที่คณะไทยได้เคยมาทำการสำรวจ ส่วนมลพิษทางอากาศค่าที่ตรวจวัดได้พบว่า ที่แอนตาร์ติกอากาศยังบริสุทธิ์มากเมื่อเทียบกับอากาศบริเวณส่วนอื่นๆ ของโลก
ด้าน ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การเดินทางมาครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหมายที่คิดว่าโลกร้อนน่าจะมีพบกระทบอย่างมากต่อน้ำแข็งและหิมะที่นี้ แต่ก็ต้องตกใจเช่นกัน ที่เห็นน้ำแข็งและหิมะหายไปในหลายๆ พื้นที่ นอกจากนี้ช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่ ถึงแม้จะมีหิมะตก แต่เมื่อหิมะเหล่านั้นตกถึงพื้นก็จะละลายกลายเป็นน้ำ นั้นแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิบริเวณแอนตาร์กติกสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้หิมะที่ตกมาละลายกลายเป็นน้ำทันที ศ.ดร.สุชนา ยังกล่าวว่า “หลังจากนี้ นักวิจัยก็จะเริ่มทำการเก็บตัวอย่างมูลของเพนกวิน และแมวน้ำ เพื่อมาวัดปริมาณของมลพิษต่างๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ในมูล เพื่อดูว่าสัตว์เหล่านั้นได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนหรือไม่”
การเดินทางเข้าร่วมการวิจัยกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งนี้ นอกจากจะมี ศ.ดร.สุชนา เป็นหัวหน้าทีมแล้ว ยังมี ผศ.ดร.สุจารี บุรีกุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนิพัธ ปิ่นประดับ จากมหาวิทยาลัยบูรพา และนายภคินัย ยิ้มเจริญ ช่างภาพจากสยามโสภา ได้เดินทางมากับทีมไทยด้วย การมาครั้งนี้นอกจากจะทำการวิจัยแล้ว จะมีการเก็บภาพและวิดิโอ เพื่อใช้ในการจัดทำหนังสือและสารคดีเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยขั้วโลกของไทย เนื่องในโอกาสปี 2568 นี้ เป็นปีมหามงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ 70 พรรษา พร้อมทั้งเป็นการครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกด้วย
คอร์สเรียน CUVIP เดือนกุมภาพันธ์ “Lesson of Love บทเรียนรัก พิทักษ์ความสัมพันธ์”
4-18 ก.พ. 68
จุฬาฯ ย้อมสยามเป็นสีชมพู ใน “CHULA BAKA BEGINS” พร้อมลั่นกลองศึกบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 สุดยิ่งใหญ่
ศศินทร์จัด Open House วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
15 ก.พ. 68 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญชวนนิสิตจุฬาฯ ร่วมประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ระบบตรีภาค
เชิญชวนนิสิตจุฬาฯ ร่วมประกวด Innovators Impact Challenge 2025 สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
จุฬาฯ ร่วมมือกรุงเทพมหานคร และองค์กร GIZ สร้างต้นแบบการใช้ภาชนะแบบใช้ซ้ำภายใต้ระบบมัดจำยืมคืน ในงานเทศกาลให้เกิดขึ้นได้ใจกลางเมือง
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้