ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมมือกรุงเทพมหานคร และองค์กร GIZ สร้างต้นแบบการใช้ภาชนะแบบใช้ซ้ำภายใต้ระบบมัดจำยืมคืน ในงานเทศกาลให้เกิดขึ้นได้ใจกลางเมือง

เมื่อมีการจัดกิจกรรมหรือเทศกาลขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น สวนสาธารณะ ลานคนเมือง ซึ่งมีร้านค้ามาออกร้านให้ผู้เข้าร่วมงานได้อิ่มอร่อย ย่อมทำให้เกิดขยะเหลือทิ้งจากการกิน การดื่มเกิดขึ้นภายในงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณขยะมากขึ้นถึงร้อยละ 15-30 จากขยะเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วันของกรุงเทพมหานคร จากข้อมูลการแยกองค์ประกอบเหลือทิ้งในงาน BKK EXPO 2027 สัดส่วนของขยะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แก้ว หลอด ฝาโดม ชาม จาน ช้อน ส้อม ถุงหูหิ้วมีปริมาณมากถึงร้อยละ 45 ซึ่งขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก และขัดกับหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน

เราจะสามารถทำให้งานเทศกาลที่จัดขึ้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร งาน “กรุงเทพกลางแปลง” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 – 19 มกราคม 2568 ณ อาคารบันเทิง สวนลุมพินี เป็นตัวอย่างของกิจกรรมที่นอกจากจะสร้างความสุขให้กับคนเมืองแล้ว ยังเพิ่มเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการทดลองนำภาชนะแบบใช้ซ้ำมาใช้ผ่านระบบมัดจำยืมคืน เพื่อลดการใช้ภาชนะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและลดปริมาณขยะเหลือทิ้งที่จะเกิดขึ้นภายในงานระบบมัดจำยืมคืนดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้กรอบการทำงานของโครงการการทำงานร่วมกันเพื่อการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CAP SEA)

ระบบมัดจำยืมคืนเป็นการนำภาชนะที่สามารถล้างใช้ซ้ำได้มาบริการให้ผู้มาเที่ยวงาน โดยกระตุ้นให้เกิดการคืนภาชนะด้วยการเพิ่มค่ามัดจำภาชนะลงไปกับราคาอาหาร เครื่องดื่ม เมื่อบริโภคเสร็จสามารถนำภาชนะไปคืนตามจุดที่จัดไว้และรับเงินมัดจำคืน หรือหากอยากนำภาชนะที่ใช้แล้วไปใส่อาหารหรือเครื่องดื่มจากร้านอื่นต่อ ก็สามารถทำได้โดยครั้งนี้จ่ายแค่ค่าอาหารเท่านั้น ก่อนนำมาคืนและรับเงินมัดจำคืน

จาก 2 คืนของการจัดงาน มีการใช้งานภาชนะแบบใช้ซ้ำดังนี้

  • แก้วน้ำ 1,481 ใบ
  • ชาม จาน 1,149 ใบ
  • ช้อน 1,950 คัน
  • ส้อม 550 คัน

จำนวนภาชนะและอุปกรณ์การกินที่สามารถล้างใช้ซ้ำได้ดังกล่าวสามารถช่วยลดขยะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ย่อยสลายได้ยากไปได้มากกว่า 8,000 ชิ้น นอกจากนี้ยังได้เสียงตอบรับอย่างดีจากผู้มาเที่ยวงาน และได้ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนค่าภาชนะไปได้อย่างมาก (ต้นทุนกล่อง ช้อน ส้อม รวมกันแล้วประมาณ 5 บาทต่อ 1 ชุด) นอกจากเรื่องระบบมัดจำยืมคืนแล้ว ภายในงานได้เชิญชวนให้ผู้มาเที่ยวงานพกภาชนะส่วนตัว เช่น กล่องข้าว กระบอกน้ำ มาใช้ซื้ออาหาร เครื่องดื่มภายในงาน และได้จัดเตรียมน้ำดื่มสะอาดให้เติมได้ เพื่อลดการเกิดขยะจากขวดน้ำอีกด้วย

ขอขอบคุณผู้จัดงาน ผู้ประกอบการ และผู้มาเที่ยวงาน “กรุงเทพกลางแปลง” ที่ทำให้เห็นว่าการลดขยะในงานเทศกาลเป็นเรื่องที่สามารถทำได้จริง ซึ่งจะเป็นแนวทางที่นำไปปรับใช้ในเทศกาลอื่น ๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เพื่อให้เป็นมาตรฐานการจัดงานที่เราสนุกได้และสิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า