ข่าวสารจุฬาฯ

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาหัวข้อ “พิรงรอง Effect” ทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อต่อจากนี้

          

               คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาหัวข้อ “พิรงรอง Effect” ทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อต่อจากนี้” เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอทิศทางใหม่ของการกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในยุคเปลี่ยนผ่าน พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขับเคลื่อนแนวทางเพื่ออนาคตของการคุ้มครองสื่อไทย

               การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นสืบเนื่องมาจากจากการที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาคดีที่บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดเป็นโจทย์ฟ้อง ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีที่ กสทช. มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์มิให้นำช่องรายการไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม True ID โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาตัดสินจำคุก ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา

            การเสวนาเริ่มต้นด้วย รศ.ดร.​ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์  จุฬาฯ อ่านแถลงการณ์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จากนั้น ​ศ. (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษแสดงข้อคิด​เห็น​ผ่านการบันทึกเทป ต่อด้วยการ​เสวนา​หัวข้อ “พิรงรอง Effect” ทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อต่อจากนี้​ โดย ​นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ กสทช. และผู้ร่วมก่อตั้ง Co-fact Thailand นายระวี ตะวันธรงค์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์ประจําคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ​ ดำเนินรายการโดยคุณประวีณมัย บ่ายคล้อย มีสื่อมวลชนและผู้สนใจร่วมงานจำนวนมาก

รศ.ดร.​ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์  จุฬาฯ
ศ. (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ กสทช. และผู้ร่วมก่อตั้ง Co-fact Thailand
นายระวี ตะวันธรงค์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
องศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์ประจําคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
คุณประวีณมัย บ่ายคล้อย

            ติดตามรับชมการถ่ายทอดสดย้อนหลังผ่าน Facebook Live: Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า