รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
3–14 ก.พ. 68
อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังสถานการณ์โควิด-19 เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต การทำงาน และเกิดความท้าทายรวมถึงโอกาสอันมากมาย โลกดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญโดยสามารถเชื่อมต่อและลดช่องว่างระหว่างผู้คนได้ แต่ก็สร้างอุปสรรคใหม่ด้วยเช่นกัน การเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ให้สามารถเข้าถึงการมีสภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับผู้คนทุกเจเนอเรชั่น การมีระบบกายภาพที่ดี จะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีอีกด้วย จากแนวคิดดังกล่าวทำให้เกิด”โครงการการออกแบบอนาคตเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และลดช่องว่างระหว่างวัย” ขึ้น โดยนำเสนอวิธีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง มุ่งหาแนวทางในการออกแบบอนาคตที่ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ การสื่อสารที่มีความหมาย การเสริมสร้างระบบการดูแลเพื่อสร้างชุมชนที่มีความยืดหยุ่น และเกื้อกูลกันมากขึ้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับ School of Design, School of Nursing, School of Psychology and Counselling มหาวิทยาลัย Queensland University of Technology (QUT) ประเทศออสเตรเลีย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโครงการการประชุมวิชาการนานาชาติ “Design For Change 2025 Thailand International Symposium” ระหว่างวันที่ 3 – 14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิธีเปิดโครงการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมี ผศ.ดร.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานในงาน
โครงการฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากเครือข่ายและความร่วมมือด้านวิชาการและด้านการออกแบบเพื่อคุณภาพชีวิตจากหลากหลายองค์กร โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันชั้นนำและองค์กรนวัตกรรมทางสังคม ได้แก่
ด้านการดูแลสุขภาพ:
ด้านความยั่งยืนและการพัฒนาชุมชน:
ด้านนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยี:
นอกจากนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจากภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ School of Design, QUT ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการออกแบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงได้รับเกียรติจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจากโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ที่มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพจิตและการฟื้นฟูผู้ป่วยในบริบทสังคมไทย ทำให้เกิดมุมมองที่ครอบคลุมทั้งด้านการออกแบบ และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรเหล่านี้ได้แบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ในการออกแบบระบบ พื้นที่ บริการ และประสบการณ์ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ และสุขภาวะของผู้คนในสังคมไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างระบบ ประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ในการประชุมแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
โครงการฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ภายใต้การกำกับของ รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดี ในกรอบแนวคิดของการนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงกับศาสตร์แขนงอื่นเพื่อสร้างการเรียนรู้ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัด สำหรับหน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย
นิสิตคณะรัฐศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ รองชนะเลิศ Deloitte Thailand Tax Challenge 2025
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาหัวข้อ “พิรงรอง Effect” ทิศทางกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อต่อจากนี้
เชิญชวนร่วมบริจาคโลหิต และช่วยเหลือสวัสดิภาพสัตว์ผ่านโครงการ “Vet Blood Cell”
18 ก.พ. 68
อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk : Happy U(niversity) Wellness ฮีลใจไปด้วยกัน เติมรัก เติมพลัง ในรั้วมหา’ลัย
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “หัวใจกับใบโพธิ์ ครั้งที่ 15″ ต้อนรับวาเลนไทน์ ชวนบอกรักอย่างมีสติ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้