รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
การร่วมมือทางวิชาการครั้งสำคัญระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จาก 4 สถาบันชั้นนำของประเทศไทย ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมการประชุมวิชาการ ภายใต้แนวคิด Harmony in Health โดยมีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์ 4 สถาบัน 2568 : จุฬาฯ- รามาฯ- ศิริราช- ธรรมศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมี นพ.เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช และ ผศ.พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์ รับหน้าที่พิธีกร
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การประชุมวิชาการร่วมคณะแพทย์ศาสตร์ 4 สถาบัน พ.ศ. 2568 ได้รับเกียรติจากคณบดี 4 สถาบัน นำทีมเข้าร่วมพิธีพร้อมร่วมพูดคุยบนเวที ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 125 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงกิจกรรมทางวิชาการ และการหารายได้ที่กำลังจะเกิดขึ้น รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกิจกรรมด้านวิจัย และ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยถึงกิจกรรมภาคประชาชนและการประชาสัมพันธ์
การประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์ 4 สถาบัน พ.ศ. 2568 สำหรับแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสาขา จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 23-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ณ บริเวณชั้น 22 -23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ และในส่วนของ กิจกรรมภาคประชาชน ภายใต้แนวคิด Harmony in Health เพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมกับการประชุมวิชาการครั้งนี้ โดยกิจกรรมจะจัดขึ้น 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ บริเวณโซนอีเดน (Eden) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมี บูทกิจกรรม การตรวจสุขภาพ และนิทรรศการ จาก 4 สถาบัน อาทิ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ Obesity Connects “Connect เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลภาวะอ้วน”, Transplantation “เปลี่ยนอวัยวะ เปลี่ยนชีวิต”, Make Sleep a Priority “สุขภาพดี เริ่มที่การนอน” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ, BRAIN MAZE, การตรวจวัดสมรรถภาพทางกาย, โภชนาการ & ฟาร์มสร้างสุข คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ การดูแลสุขภาพด้วยหลักธรรมานามัยตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย, Healthy Living by Siriraj “รวมความรู้ สู่สุขภาพดี”, Move Better, Live Stronger “กระดูกดี กับ Ortho Siriraj”, Check & Care: NCD Screening “เช็คสุขภาพก่อนสาย ใส่ใจวันนี้เพื่ออนาคต” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ Stay healthy stay herbal “ชีวาเฮิร์บ”, Lung Fit Lab “ชวนเช็คปอด”, Stride with Strength “ก้าวไปอย่างแข็งแรง” เป็นต้น และ กิจกรรมภาคประชาชน ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ณ บริเวณชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Cartier Women’s Initiative (CWI) Entrepreneurial Program
นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ “Thailand New Gen Inventors Award 2025”
บทความวิชาการของอาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับรางวัล JDR Award for the Most Cited Paper 2024 ที่ประเทศญี่ปุ่น
จุฬาฯ – กรมอนามัย สานต่อเปิดหลักสูตร “เวฬา รุ่นที่ 3” สำหรับผู้บริหารระดับสูงด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทย สู่ Medical Hub ของโลก
อธิการบดีจุฬาฯ ส่งกำลังใจให้นักฟุตบอลจุฬาฯ ในฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ เปิดอบรมภาษาจีนสำหรับนิสิต เสริมทักษะสู่การสื่อสาร
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้