รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว, หลักสูตรระยะสั้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือด้านวิชาการ พร้อมเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา รุ่นที่ 3” หรือ “Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA) Batch 3” โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย ผู้แทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านสุขภาพและการแพทย์ มุ่งหวังที่จะพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรของประเทศ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชนที่มีความพร้อมจะเป็นผู้นำองค์กรในการพัฒนาและบริหารจัดการองค์กรของประเทศไทยสู่ Medical Hub ของโลก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4
ในงานมีการเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารด้านการแพทย์และธุรกิจสุขภาพหลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย โดยคุณกุลวดี ศิริภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการอบรมหลักสูตร เวฬา ศ. ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ประธานอำนวยการหลักสูตร นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง กรมอนามัย ผู้แทนจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ประธานดำเนินการหลักสูตร
ภายใต้ความร่วมมือด้านวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านสุขภาพและการแพทย์ เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยเปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยผู้ผ่านการอบรมเป็นผู้บริหารจากหลายหลากอาชีพที่ให้ความสนใจอบรมเป็นอย่างมาก
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา รุ่นที่ 3” เป็นการตอกย้ำความสำเร็จในการผสานความร่วมมือระหว่างบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ดีกรีพลัส จำกัด และกรมอนามัย เพื่อพัฒนาบุคลากรระดับผู้นำองค์กรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Medical Hub ของโลก ตลอดจนเพื่อการจัดการความรู้ที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต จุฬาฯ พร้อมที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิด “Chula Togetherness & Growth”
นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพ โดยความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านหลักสูตร Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA) เพื่อสร้างผู้นำองค์กรที่มีความพร้อมในการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
หลักสูตร “เวฬา” เป็นหลักสูตรระยะสั้นที่เน้นเพิ่มพูนองค์ความรู้สำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร โดยมุ่งเน้นเรื่อง Longevity เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้ “แก่ช้า อายุยืน อย่างมีคุณภาพ” โดยครอบคลุมองค์ความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่ล้ำหน้าและทันสมัย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลักสูตร “เวฬา” เปิดอบรมมาแล้ว 2 รุ่น โดยหลักสูตร “เวฬา รุ่นที่ 1” ปี 2566 มีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 85 คน และหลักสูตร “เวฬา รุ่นที่ 2” ปี 2567 มีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 99 คน ผู้เข้าอบรมมาจากหลายหลากอาชีพและหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งสามารถนำความรู้ไปต่อยอดและขยายธุรกิจด้านการแพทย์และสุขภาพ
“หลักสูตรเวฬาไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้เชิงวิชาการ แต่เป็นการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งและองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ความรู้จากหลักสูตรยังต่อยอดไปสู่การพัฒนาเชิงธุรกิจและสุขภาพ ผู้เข้าอบรมสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง”
“เมื่ออายุยืนยาวขึ้น สิ่งสำคัญคือการวางแผนการเงินให้ดี เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไปตลอด หลักสูตรเวฬานอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว ในหลักสูตรมีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งช่วยเปิดมุมมองและนำแนวคิดใหม่ ๆ กลับมาพัฒนาการทำงานได้อย่างดียิ่ง”
“หลักสูตรเวฬาช่วยให้เข้าใจการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ตั้งแต่อาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงจิตใจและสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการดูแลสุขภาพและต่อยอดธุรกิจบริการสุขภาพที่ยั่งยืน”
“หลักสูตรเวฬาเน้นการวางแผนชีวิตระยะยาว ตั้งแต่สุขภาพ การใช้ชีวิต การเงิน ไปจนถึงแนวทางในการดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ในหลักสูตรมีการศึกษาดูงานต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเทคโนโลยีและแนวคิดการดูแลสุขภาพของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร และสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้ในบริบทของไทยได้ ผู้เข้าอบรมทุกคนจะต้องทำโครงการ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจและการพัฒนาสังคมได้จริง”
หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา รุ่นที่ 3” หรือ “Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA)” Batch 3 จะจัดอบรมระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน 2568 มีผู้เข้าอบรมที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 100 คน โดยหลักสูตรมีเนื้อหาที่มุ่งเน้นองค์ความรู้ที่ล้ำสมัย อาทิ การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Reverse Aging) สุขภาพเพศกับการมีอายุยืน (Sexual Health & Longevity) เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) การนอนหลับและสุขภาพจิต (Sleep and Mental Health) และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในทางการแพทย์ (AI and ChatGPT in Medicine & Longevity Digital Platform) เป็นต้น โดยจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายรูปแบบ (Learning Experiences) ได้แก่ การบรรยายสรุปประเด็นสำคัญโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก (Executive Brief) การขยายเครือข่ายผู้นำเปิดมุมมอง และโอกาสใหม่ ๆ (Extensive Networking) เปิดประสบการณ์นวัตกรรมสุขภาพล้ำสมัยจากทั่วโลก (Innovation Showcase) เสวนาประเด็นร้อน ด้านธุรกิจกฎหมาย และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Panel Discussion) การสรรค์สร้างโปรเจกต์ พร้อมต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน (Capstone Project) เยี่ยมชมนวัตกรรมในสถานที่จริง ทั้งในและต่างประเทศ (Exclusive Site Visit) เพื่อยกระดับศักยภาพของผู้บริหาร/ผู้ประกอบการด้านธุรกิจและการให้บริการด้านสุขภาพทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมหลักสูตรนี้ไปใช้พัฒนาองค์กรและพัฒนาธุรกิจให้มีความโดดเด่นในด้านมาตรฐานการให้บริการทัดเทียมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ระดับนานาชาติ
รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Cartier Women’s Initiative (CWI) Entrepreneurial Program
นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ “Thailand New Gen Inventors Award 2025”
บทความวิชาการของอาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับรางวัล JDR Award for the Most Cited Paper 2024 ที่ประเทศญี่ปุ่น
อธิการบดีจุฬาฯ ส่งกำลังใจให้นักฟุตบอลจุฬาฯ ในฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ เปิดอบรมภาษาจีนสำหรับนิสิต เสริมทักษะสู่การสื่อสาร
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์ 4 สถาบัน 2568 จุฬาฯ – รามาฯ – ศิริราช – ธรรมศาสตร์
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้