ข่าวสารจุฬาฯ

การประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 7 (The 7TH RUN Summit) – จุฬาฯ One Health

       เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) จัดการประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ครั้งที่ 7 (The 7th RUN SUMMIT) ภายใต้หัวข้อ “Sustainable Solutions for Tomorrow’s Thailand” โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นเจ้าภาพจัดงาน ระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท จังหวัดสุโขทัย โดยมี ศ.ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวต้อนรับเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการวิจัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์การประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อสร้างความร่วมมือและหาแนวทางการพัฒนางานวิจัยร่วมกันของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้

  • หัวข้อ “Waste” ประกอบด้วยกลุ่ม Electronic Waste (รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
  • หัวข้อ “Climate Change”ประกอบด้วยกลุ่ม Food Security: Productivity (รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) กลุ่ม One Health (คนและสัตว์) มุ่งเน้นโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ (รับผิดชอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล) และกลุ่มการจัดการน้ำและฝุ่น PM2.5 (รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้รับมอบหมายพัฒนาโจทย์วิจัยในหัวข้อ ‘One Health’ (คนและสัตว์) มุ่งเน้นโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ นำโดย ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ รศ.น.สพ.ดร.มรกต แก้วธรรมสอน คณะสัตวแพทยศาสตร์ ผศ.ดร.นพ.กนก พฤติวทัญญู คณะแพทยศาสตร์ และ อ.ดร.ธนิษฐา ฉัตรสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเสนอหัวข้อการวิจัย 4 หัวข้อ ได้แก่

  • หัวข้อ “การสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการตรวจวินิจฉัยและเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยแมลงจากสัตว์ป่าสู่คน” โดย รศ.น.สพ.ดร.มรกต แก้วธรรมสอน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์วิจัยไพรเมตแห่งชาติ
  • หัวข้อ “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิธีการในการตรวจวินิจฉัย ควบคุม ป้องกันการอุบัติของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาและเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน ในวงจรการทำฟาร์มสัตว์น้ำเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียว” โดย รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • หัวข้อ “การแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อด้วยแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับจีโนม” โดย อ.ดร.ธนิษฐา ฉัตรสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
  • หัวข้อ การประยุกต์ใช้ข้อมูล Metagenomics ในการเฝ้าระวังและควบคุมเชื้ออุบัติใหม่และเชื้ออุบัติซ้ำ ซึ่งสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนในกลุ่มแมลงดูดเลือดที่พบในประเทศไทย ตามหลักการสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)” โดย ผศ.ดร.นพ.กนก พฤฒิวทัญญู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

      

        โครงการหลักสูตรอบรมสำหรับนักวิจัย “RUN for Real: Driving High Impact Research for Economic Growth and Better Living” จัดให้มีการนำเสนอโครงการวิจัยในรูปแบบ Pitching เพื่อคัดเลือกโครงการรับทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอโครงการวิจัย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • โครงการ “Cello-gum” การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าวสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ : from Biotechnology to Bio-Economy การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานต้นแบบ” โดย ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และคณะ จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
  • โครงการ BioCraft: เครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติแบบครบวงจร” โดย รศ.ดร.กฤษฎา พนมเชิง และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์

       นอกจากนี้ มีการประกาศผลกิจกรรม RUN FIT ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “Pop Run Fit Fest : รวมพลคน fit แบบ pop pop” โดยให้บุคลากรในเครือข่ายมหาวิทยาลัยร่วมแข่งขันและส่งผลการออกกำลังกายผ่านแอปพลิเคชัน Run-Hub NextVR ระหว่างวันที่ 7 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2568 (ระยะเวลา 1 เดือน) เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและสร้างความผ่อนคลายระหว่างสมาชิกในเครือข่าย โดยจัดแบ่งทีมตามมหาวิทยาลัย ซึ่งในปี 2568 ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผลรวมระยะทางการวิ่งอยู่ในอันดับ 2 ของการแข่งขัน

       เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) เป็นการรวมกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อผลักดันการสร้างงานวิจัยข้ามศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศ รวมถึงสร้างเสริมบรรยากาศที่ดีในการวิจัยระหว่างผู้บริหารในเครือข่ายฯ ประธานคลัสเตอร์ และบุคลากรสายสนับสนุนจากฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยต่อไปในอนาคต

ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ

ขอบคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า