รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ จัดเสวนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เรื่อง“แผ่นดินรัตนโกสินทร์ : หลอมรวมราษฎร์ ผสานวัฒนธรรม” เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องการแสดงและกิจกรรม นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และนายปัทมนิธิ เสนาณรงค์ หัวหน้าฝ่ายนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กล่าวถึงความสำคัญของงาน
การเสวนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งสัมพันธ์กับท้องถิ่น ชุมชนและกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยในมิติพหุวัฒนธรรมสู่สาธารณะในระดับชาติ โดยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ควบคู่ไปกับการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดนตรีไทย งานช่างฝีมือ และผลผลิตของชุมชนบนเกาะรัตนโกสินทร์ พื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมภายในงานมีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “หลากเชื้อหลายชาติบนแผ่นดินรัตนโกสินทร์” โดย ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษา และนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ การเสวนาเรื่อง “รัตนโกสินทร์ ถิ่นงานผ้า และลีลาดนตรี” โดยนางปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ผู้อำนวยการพิพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ในช่วงบ่ายมีการเสวนา “การเดินทางผ่านผัสสะรัตนโกสินทร์ (Sense of Journey: Sen of Rattanakosin)” ในหัวข้อ“ดวงหทัยรัตนโกสินทร์” โดย ผศ.ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ นักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรมไทย “สัมผัสถิ่นความหลากหลาย” โดย ผศ.ดร.พันธุมดี เกตะวันดี รองผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ลมหายใจแห่งเจ้าพระยาโดย รศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และการเสวนาเรื่อง “พหุวัฒนธรรมในภาษาและวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์” โดย รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา และอาจารย์พิเศษภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา สาขาศิลปกรรม กล่าวปิดการเสวนาโดย รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ ตรวจสุขภาพแรงงานฟรี เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ที่สยามสแควร์
1 พ.ค. 68 เวลา 08.00 -20.00 น.
สยามสแควร์
“MDCU MedUMORE” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner “THE Awards Asia 2025” ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้