รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม จุฬาฯ และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ฯ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ คณบดีสำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ลงพื้นที่จังหวัดน่าน มอบหน้ากาก ‘POR-DEE’ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และเครือซีพี ให้บุคลากรและนิสิตจุฬาฯ และประชาชนในพื้นที่
ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม จุฬาฯ และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ฯ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จังหวัดน่านเป็นหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ซึ่งหน้ากากอนามัยทั่วไปไม่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่หน้ากาก N95 แม้จะป้องกันได้ดีแต่มีราคาสูงและสวมใส่ไม่สบาย ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ฯ จึงพัฒนา ‘POR-DEE’ หน้ากาก 4 ชั้น ที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 99% กระชับใบหน้า ใส่สบาย และหายใจสะดวก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และซีพี จึงได้มอบหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ให้แก่สำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์ จ.น่าน เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่บุคลากร นิสิต นักศึกษาของจุฬาฯที่ จ.น่าน รวมถึงพี่น้องประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
นอกจากนี้ ศ.นพ.รังสรรค์ พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังได้ศึกษาดูงานในพื้นที่พัฒนาของทั้งสองหน่วยงาน เริ่มจากโครงการสบขุ่นโมเดล ที่ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาต้นแบบที่ซีพีดำเนินการมากว่า 5 ปี เพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนข้าวโพดที่ต้องใช้วิธีการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งศึกษาดูงานโครงการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วมโคเนื้อ ต.เมืองจัง อ.ภูเพียง จ.น่าน ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การสนับสนุนของสำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ที่มุ่งพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรให้สามารถผลิตโคเนื้ออย่างมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด และสามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกรเพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ได้นำเสนอการวิจัยเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับเกษตกร จ.น่าน 2 เรื่อง คือ การพัฒนาและยกระดับธุรกิจเมล็ดโกโก้ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่นให้มีองค์ความรู้ในการแปรรูปโกโก้จากโกโก้ผลสดเป็นเมล็ดโกโก้แห้งที่มีมาตรฐานตามความต้องการของตลาด และการผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) เพื่อลดคาร์บอน โดยจุฬาฯ และเครือซีพีจะดำเนินการต่อยอดโครงการดังกล่าวในอนาคตร่วมกันต่อไป
ศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ คณบดีสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ กล่าวว่า เร็ว ๆ นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะยกระดับสำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร ฯ ให้เป็น “คณะเกษตรบูรณาการ” เพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการ ต่อยอดสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรกรไทย การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างจุฬาฯ และเครือซีพีในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรม การขยายผลงานวิจัย และการพัฒนาแนวทางการทำเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกรไทย
นอกจากการบรรเทาผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนแล้ว ความร่วมมือนี้ยังเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างเป็นระบบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือซีพีมุ่งมั่นจะสานต่อความร่วมมือผ่านการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและชุมชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืน ต่อยอดการพัฒนาสู่ระดับประเทศ และเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างซีพีและคณะเกษตรบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทยในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ เครือซีพี เปิดเผยว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังเป็นวิกฤตในประเทศไทยไม่ได้เกิดจากการเผาพื้นที่การเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสาเหตุจากการเผาป่า รวมถึงฝุ่นที่เกิดจากการจราจร โรงงานอุตสาหกรรม และความกดอากาศต่ำ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืน สำหรับเครือซีพีในฐานะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้านการเกษตร ได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มาจากการเผาแปลงเกษตรหรือการบุกรุกป่า โดยนำระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมมาติดตามจุดความร้อนแบบเรียลไทม์ หากพบว่าเกษตรกรมีการเผาหรือบุกรุกป่า จะไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตให้กับเครือซีพีได้ นอกจากนี้เครือซีพียังส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกพืชทางเลือกแทนการเผา โดยเฉพาะกาแฟ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้สูงและช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ “สบขุ่นโมเดล” เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องที่เครือซีพีริเริ่มขึ้นในปี 2558 เพื่อเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยวให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟที่มีมูลค่าสูงขึ้น โครงการนี้ไม่เพียงช่วยลดการเผาพื้นที่เกษตร แต่ยังเป็นการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เผยว่า ซีพีได้จัดตั้งสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน เมื่อปี 2562 เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร โดยดำเนินโครงการ “สบขุ่นโมเดล” เพื่อฟื้นฟูภูเขาหัวโล้น ด้วยการสนับสนุนเกษตรกรปลูกกาแฟแทนการทำไร่ข้าวโพด โดยให้การสนับสนุนครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจากกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง 1 ไร่ของกาแฟให้รายได้เทียบเท่ากับข้าวโพด 7 ไร่ ลดการใช้พื้นที่เกษตรและเพิ่มมูลค่าอาชีพ โดยเกษตรกรรวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น กาแฟคั่ว กาแฟสำเร็จรูป ปุ๋ยหมัก และชาดอกกาแฟ และยังเปิดร้านกาแฟบ้านสบขุ่น บริหารโดยคนในชุมชน ทั้งนี้พบว่าสบขุ่นโมเดลช่วยให้พื้นที่ป่ากลับคืนมา 60% หรือกว่า 5,551 ไร่ และสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้มากกว่า 1.6 ล้านบาท
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
พิธีบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จุฬาฯ อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับนิทรรศน์รัตนโกสินทร์จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “แผ่นดินรัตนโกสินทร์ : หลอมรวมราษฎร์ ผสานวัฒนธรรม”
กิจกรรม “Pet Obesity Day: สุขภาพดีไม่มีอ้วน” ดูแลสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง ห่างไกลโรคอ้วน
4 มี.ค. 68
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
สำนักงาน ป.ป.ส. ผนึกความร่วมมือกับจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ศึกษาและวิจัย พัฒนาเครือข่ายวิชาการด้านยาเสพติด
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้