รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 กุมภาพันธ์ 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกิจกรรม “เทศกาลบางแสนเพลิน” จัดโดยมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์จากความร่วมมือทั้งสองมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา
คุณสวัสดิ์ หอมคุณปลื้ม รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองแสนสุข เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม “เทศกาลบางแสนเพลิน” ซึ่งเกิดจากโครงการวิจัยผลงานสร้างสรรค์เรื่อง “บางแสนสร้างสรรค์ สร้างเมืองให้มีชีวิตด้วยศิลปะร่วมสมัยของชุมชน” ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพา และทีมวิจัยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมโดย ศ.พรรัตน์ ดำรุง ในการเรียนรู้ตัวตนของชุมชนในพื้นที่บางแสน ผ่านศิลปะร่วมสมัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป นำไปสู่การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์อย่างมีความสุข
รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวขอบคุณถึงความร่วมมือในการพัฒนาโครงการวิจัยให้นำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน “โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยบูรพา ตามโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย จากสามย่านสู่บางแสน กลายเป็นเทศกาลบางแสนเพลิน ซึ่งถือเป็นกระบวนการทางศิลปะที่สามารถนำมาใช้ทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์โดยให้ชุมชนในเมืองบางแสนได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมสร้าง และลงมือทำไปพร้อมกัน”
“เทศกาลบางแสนเพลิน” เทศกาลดนตรี การแสดง นิทรรศการและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิปัญญาและความรู้ท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ผ่านการนำเสนอผลงานจาก 3 ชุมชนตลอดแนวชายฝั่งทะเลบางแสน ได้แก่ ชุมชนหาดวอนนภา ชุมชนหาดบางแสน และชุมชนเขาสามมุข โดยมีกิจกรรมมากมาย ทั้งนิทรรศการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คอนเสิร์ต และการแสดงประเภทต่าง ๆ เช่น ละครชุมชน นาฏศิลป์ร่วมสมัย ละครหุ่นเงาและการแสดงหนังใหญ่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ อาทิ คุณพิเชษฐ กลั่นชื่น (Pichet Klunchun Dance Company), คุณสุธารัตน์ สินนอง ศิลปินการแสดงหุ่นเงา, วงดนตรี The Begins Band, คุณสุมณฑา สวนผลรัตน์ (ศิลปินศิลปาธร), คุณทวีวัฒน์ กำเนิดเพ็ชร์ (กลุ่มเรียนรู้บางเพลย์) และคณะหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง รวมถึงนิทรรศการภาพเก่าเล่าบางแสนที่ได้รับความเอื้อเฟื้อข้อมูลจากคุณวิธาน เมืองศรีนุ่น (เพจส่องอดีตเมืองชล) นิทรรศการภาพถ่าย “ร้อยรูป ร้อยคน ชีวิตจิตวิญญาณหาดวอนนภา” โดยคุณนฤมล การสันทัด
ขอเชิญชวนร่วมงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2568 ณ สถานที่โดยรอบบางแสน มาร่วมกันสร้างเมืองให้มีชีวิต ด้วยศิลปะร่วมสมัยของชุมชน สู่การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์อย่างมีความสุข
ติดตามกิจกรรมได้ที่
Facebook: BangsaenPlearn
IG: Bangsaen_plearn
Tiktok: Bangsaen_plearn
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
อาจารย์จุฬาฯ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2567
จุฬาฯ วางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรม “Book & Gift For Share” เนื่องในวันหนังสือเด็กสากล 2 เมษายน
2 เม.ย. 68
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk: Study Safe, Stay Calm เรียนได้ อยู่ดี ภัยพิบัติใด ก็ไม่หวั่น
4 เม.ย. 68 เวลา 2.00 -13.00 น.
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ (หอสมุดกลาง)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้