รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 มีนาคม 2568
ข่าวเด่น
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ The Urban Resilience Research Center, Osaka Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 22nd Urban Culture Research Forum “Urban Voices” ระหว่างวันที่ 4-5 มีนาคม 2568 ณ ห้องเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ และ ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ กล่าวถึงที่มาของการจัดการประชุม
การประชุมวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นจากความร่วมมือของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ The Urban Resilience Research Center, Osaka Metropolitan University ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยด้านศิลปกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองและชุมชน โดยศูนย์วิจัย Urban Resilience Research Center ก่อตั้งโดย ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ และ Prof. Dr. Nakagawa Shin มีการจัดการประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 22
หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงานคือ การปาฐกถานำโดย Dr. Natalia Grincheva จาก University of the Arts Singapore ประเทศสิงคโปร์ ในหัวข้อ “Beyond Artificial Intelligence: Connecting Data, Culture and Community through Creative Smart City Nexus” ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเชื่อมโยงข้อมูล วัฒนธรรม และชุมชน ผ่านแนวคิดของเมืองอัจฉริยะเชิงสร้างสรรค์ภายในงานยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยจากผู้เข้าร่วมประชุมจาก 12 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ กานา ตุรกี ไทย ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา รวมถึงผลงานของนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 101 คน
เอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐเม็กซิโกประจำประเทศไทยเยือนจุฬาฯ สนใจขยายความร่วมมือ กระชับความสัมพันธ์อันดี
จุฬาฯ และ Institute of Science Tokyo หารือความร่วมมือด้านการวิจัยในอนาคต
เชิญร่วมงานเสวนา “Zero Carbon Journey: ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในบริบทโลกไร้คาร์บอน”
จุฬาฯ จัดงาน “Songkran X Pride Festival 2025” สาดความสุขฉลองเทศกาลสงกรานต์ผสานงาน Pride
จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือจัดตั้ง “องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย”
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้