รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 มีนาคม 2568
Awards & Honours, Featured News, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับทีมนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่ประสบความสำเร็จคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันว่าความศาลจำลองระดับนานาชาติ The Philip C. Jessup International Law Moot Court Competition 2025 รอบในประเทศ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ทีมนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบระหว่างประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 5 เมษายน 2568 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทีมนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้แสดงศักยภาพที่โดดเด่นและได้รับรางวัลสำคัญหลายรางวัลจากการแข่งขันครั้งนี้ ดังนี้
– รางวัลทีมชนะเลิศการแข่งขันรอบภายในประเทศ (National Champion)
– รางวัลเอกสารคำฟ้องที่ดีที่สุด (Best Memorial Award for the Applicant)
– รางวัลเอกสารคำให้การที่ดีที่สุด (Best Memorial Award for the Respondent)
– รางวัลผู้แถลงการณ์ด้วยวาจาที่ดีที่สุด (Best Oralist) โดย นายพสิษฐ์ สร้อยสนธิ์ นิสิตชั้นปีที่ 2
– รางวัลผู้แถลงการณ์ด้วยวาจาที่ได้รับคำชื่นชมจากกรรมการ (Honorable Mentions) จำนวนสองรางวัล ได้แก่ นายธนกร เกตุจินากูล นิสิตชั้นปีที่ 4 และ นางสาวรินรดา ตั้งจิตวิไลกุล นิสิตชั้นปีที่ 3
ทั้งนี้ ทีมนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ประกอบด้วย นายนันทวัฒน์ อภิรัตน์ธนารัฐ นิสิตชั้นปีที่ 1 นายพสิษฐ์ สร้อยสนธิ์ นิสิตชั้นปีที่ 2 นางสาวดุจไหมทอง นลวชัย นิสิตชั้นปีที่ 2 (LLBel) นางสาวรินรดา ตั้งจิตวิไลกุล นิสิตชั้นปีที่ 3 และ นายธนกร เกตุจินากูล นิสิตชั้นปีที่ 4 โดยมี ผศ.ดร.ปภาวดี ธโนดมเดช และ อ.อินทัช ศิริวัลลภ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ความสำเร็จในครั้งนี้สะท้อนถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีทักษะทั้งด้านกฎหมายระหว่างประเทศ การวิเคราะห์กรณีศึกษา การเขียนเอกสารทางกฎหมาย และการแถลงการณ์ด้วยวาจา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันในระดับโลก
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้