รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มีนาคม 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันศุกร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 – 16.30 น. ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) หรือ SHECU ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดประชุมประชาพิจารณ์ต่อ (ร่าง-2) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี หรือ มอก. 2677 เล่ม 1 และ 2 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำ (ร่าง-2) มอก. 2677 เล่ม 1 ข้อกำหนด และ เล่ม 2 ข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับหลักการ ระบบ และเทคนิคในทางปฏิบัติ ทั้งนี้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ตรวจประเมิน ผู้แทนห้องปฏิบัติการ บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมประชุมให้ความคิดเห็น ณ ห้องประชุมซัฟฟลาย 2-3 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี และห้องประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom รวมกันกว่า 150 ท่าน
การประชุมประชาพิจารณ์ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงาน “โครงการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558)” ซึ่ง วช. ได้ให้การสนับสนุนและมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศปอส. ดำเนินการศึกษาทบทวนข้อกำหนดของมาตรฐาน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อปรับปรุงมอก. 2677 – 2558 ที่ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี ให้มีความสมบูรณ์ ชัดเจน เหมาะสม ทันสมัย สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและสภาพแวดล้อมการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบัน
(ร่าง-2) มอก. 2677-2558 เล่ม 1 และเล่ม 2 ฉบับประชาพิจารณ์นี้ ได้รับการปรับปรุงจากการศึกษาทบทวนข้อกำหนด และการรวบรวมความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม การรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ตรวจประเมิน ผู้แทนห้องปฏิบัติการที่เคยขอหรือได้รับการรับรองมาตรฐาน ผู้แทนเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัย และผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 และการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 จนได้ (ร่าง-2) มอก. 2677-2558 เล่ม 1 และเล่ม 2 สำหรับใช้ในการประชาพิจารณ์ในครั้งนี้
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้