รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 สิงหาคม 2562
ข่าวเด่น
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัด โครงการบ่มเพาะยุวศิลปินนาฏศิลป์ – ดนตรีไทย เมืองน่าน ปีที่ 7 เมื่อวันที่ 1-3 สิงหาคม 2562 ณ สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีนักเรียนโรงเรียนสตรีศรีน่าน โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร โรงเรียนบ่อสวกวพิทยาคม โรงเรียนน่านนคร โรงเรียนสา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 โรงเรียนนาน้อย และโรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี เข้าร่วม จำนวน 89 คน
ด้วยผลสัมฤทธิ์ของโครงการในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาที่สำคัญคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายสล่า ศิลปินและครูนาฏยศิลป์ ครูดนตรีไทยจังหวัดน่าน พัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนายุวศิลปินจังหวัดน่าน จากเครือข่ายนักเรียนที่มีความสนใจและมีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์-ดนตรีไทยของจังหวัดน่าน จากการประเมินผล โครงการพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ครูประจำวงดนตรีไทยต่างให้ข้อคิดเห็นว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะ และมีทักษะทางด้านดนตรีไทยนาฏยศิลป์ไทยดีขึ้น สามารถเข้าร่วมรายการแข่งขันระดับชาติได้ ผลสำเร็จในรูปธรรมอีกอย่างคือ การจัดตั้งวงมหาดุริยางค์ดนตรีไทย-คณะนาฏยศิลป์ฟ้าน่าน เพื่อจัดการแสดงในงานสำคัญต่างๆ เช่น การแสดงเพื่อถวายการรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ
อีกประการหนึ่งคือการกระตุ้นจิตสำนึกรักในศิลปวัฒนธรรมของเยาวชนจังหวัดน่านและตระหนักเห็นความสำคัญในการเรียนรู้นาฏยศิลป์ดนตรีไทยเพื่อนำองค์ความรู้กลับไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านสังคมและวัฒนธรรมในบ้านเกิดอย่างยั่งยืน โครงการค่ายบ่มเพาะยุวศิลปินนาฏยศิลป์-ดนตรีไทย เมืองน่าน นับเป็นกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ แสดงความสามารถ และทำความเข้าใจรายละเอียดที่สำคัญในงานดนตรีนาฏศิลป์อย่างแท้จริง เป็นการวางรากฐานบุคลากรทางวัฒนธรรมเพื่อดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกรักในศิลปวัฒนธรรมของเยาวชน ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเรียนรู้นาฏยศิลป์-ดนตรีไทย รักษาองค์ความรู้ และสืบสานนาฏยศิลป์-ดนตรีไทยในบ้านเกิดให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้