รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 มีนาคม 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด ร่วมมือทางด้านวิจัย วิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โครงการ Chula X VendWeGo® พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันจัดขึ้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายภาคภูมิ เพิ่มมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือ พร้อมด้วย ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดีด้านวิจัยและนวัตกรรม จุฬาฯ และนายสุนทร สุพรรณพยัคฆ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด เป็นสักขีพยาน
โครงการ Chula X VendWeGo® เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ครบวงจร (One-Stop Digital Solutions) มาผสานกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านจอ VendWeGo® ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดิจิทัลอัจฉริยะที่สามารถใช้ในการสื่อสาร การชำระเงิน การจองพื้นที่ และการให้บริการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะนำไปติดตั้งในพื้นที่ สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง เพื่อยกระดับพื้นที่ให้เป็นต้นแบบของ Smart City ที่มีศักยภาพระดับสากล ด้วยระบบที่ใช้งานง่าย ปลอดภัย และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานและผู้ประกอบการ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน การร่วมมือกับบริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด ในโครงการ Chula X VendWeGo® เป็นการเชื่อมโยงศักยภาพของการศึกษา วิจัย และเทคโนโลยี รวมถึงการประยุกต์ใช้ AI สู่การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมดิจิทัลอย่างครบวงจร จอ VendWeGo® ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดิจิทัลอัจฉริยะสำหรับการสื่อสารและบริการที่ทันสมัย จะเป็นสื่อกลางสำคัญในการเชื่อมโยงพื้นที่สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง ให้กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งนวัตกรรมดิจิทัล รองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคตพร้อมตอบสนองความต้องการของสังคมเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ยังถือเป็นต้นแบบสำคัญในการพัฒนา Smart City และชุมชนอัจฉริยะของประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย”
ด้านนายภาคภูมิ เพิ่มมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด กล่าวว่า “บริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างความสะดวกสบายและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโครงการ Chula X VendWeGo® เป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการและพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและจอ VendWeGo® ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะที่นำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”
โครงการ Chula X VendWeGo® ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา One-Stop Digital Solutions อัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งยกระดับศักยภาพของพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ให้เป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้