รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มีนาคม 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CSII) ร่วมกับธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาท้องถิ่น “GSB Local Community Empowerment and Development Program” (GSB CED) 2568 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ณ CSII Digital Auditorium ชั้น 3 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาฯ
โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาท้องถิ่น “GSB Local Community Empowerment and Development Program” (GSB CED) 2568 เป็นโครงการเชิงนวัตกรรมที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทั่วประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้ เครื่องมือทางธุรกิจ และการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
งานเปิดตัวโครงการครั้งนี้มี ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ และคุณศักดิ์สิทธิ์ สุนทรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs Startup กล่าวเปิดโครงการ จากนั้นเป็นการนำเสนอโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการโดย ดร.รณกร ไวยวุฒิ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ และการแถลงข่าวเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการ
โครงการ GSB CED 2568 ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์บ่มเพาะความรู้ เครื่องมือทางธุรกิจ และการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นให้สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมได้ด้วยตนเอง แนวคิดนวัตกรรมให้แก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1. ระดมความคิดเห็นและระบุปัญหาของชุมชน – เปิดรับสมัครทีมผู้เข้าร่วม 500 ทีมจากทั่วประเทศ เพื่อระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2. พัฒนาแนวคิดและโมเดลธุรกิจ – 36 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการอบรมแบบ Hybrid และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
3. พัฒนาและทดสอบโครงการต้นแบบ – 18 ทีมสุดท้ายจะได้รับทุนสนับสนุนและดำเนินโครงการต้นแบบ ในพื้นที่จริง
4. DEMO DAY และการขยายผล – คัดเลือก 6 ทีมที่ดีที่สุด เพื่อรับรางวัลสนับสนุนเพิ่มเติม พร้อมโอกาสในการเชื่อมโยงกับแหล่งทุน
โครงการ GSB CED 2568 คาดว่าจะช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม พร้อมต่อยอดเป็นโมเดลที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วประเทศ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและธนาคารออมสินยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน
โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของธนาคารออมสินในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนทางด้านเงินทุน องค์ความรู้ และการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินพิเศษ เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ธุรกิจและโครงการชุมชนสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการโครงการ GSB CED 2568 เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป การอบรมและคัดเลือกทีมรอบแรกจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2568 ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารออมสิน และ CSII
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณกุลสตรี พุ่มวงษ์ (น้ำชา)CSII Event Officer ผู้ประสานงานโครงการ โทร. 0-2218-3137E-mail: gsbced@gmail.com
จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567
จุฬาฯ จัดงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ระบบทวิภาค
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ใจนิ่ง…ในวันที่โลกไม่แน่นอน : จิตวิทยาในการรับมือภัยพิบัติ”
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้