ข่าวสารจุฬาฯ

งาน Chula Safety 2019

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ (ศปอส.) จัดงาน Chula Safety 2019 ระหว่างวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2562 ณ ศาลาพระเกี้ยว เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดความเข้าใจ และส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัย ปลูกฝังให้เป็นนวัตกรรมความปลอดภัยในจุฬาฯ โดยมี ศ.เลอสม สถาปิตานนท์ ที่ปรึกษาอธิการบดี เป็นผู้กล่าวเปิดงาน กล่าวรายงานโดย ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการ ศปอส.

กิจกรรมต่างๆ ในงานมีการบรรยายพิเศษ การเสวนาให้ความรู้ การจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ การสาธิตอุปกรณ์ดับเพลิง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ ท่าบริหารบำบัดออฟฟิศซินโดรม การเปิดตัว “Chula Safety Ambassador 2019” ประกอบด้วย นายรัชชานนท์ วิลวัฒน์ นายเจษฎา คุณโน คณะครุศาสตร์ นางสาวพัทธนันท์ บงกชมาศ คณะแพทยศาสตร์ นายเอกราช สมบัติสวัสดิ์ นางสาววชิราภรณ์ วิไลวรรณ นางสาวฐิตาภรณ์ เหลืองวิลัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

“เรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่ทุกคนควรใส่ใจไม่มองข้าม เราสามารถเสี่ยงอันตรายได้ทุกๆ ที่ทั้งในห้องปฏิบัติการ สถานที่ทำงานและสถานที่เรียน แม้แต่ปากกาที่ใช้เขียนกระดาน กลิ่นจากน้ำหมึกก็อาจเป็นอันตรายกับเราได้ ผู้มาร่วมงาน Chula Safety 2019 จะได้ความรู้ที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน”                                                                                                                         รัชชานนท์ วิลวัฒน์ นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์

“ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับสารเคมี สารก่อโรคต่างๆ การทิ้งสารเคมี ถ้าทิ้งผิดที่ก็จะเกิดผลเสียต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยจึงมีความสำคัญ ซึ่งสามารถเสริมสร้างให้เกิดขึ้นได้โดยเริ่มจากตัวเราเอง งาน Chula Safety 2019 ทำให้ได้ความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย”                                                                                                               พัทธนันท์ บงกชมาศ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์

“ผู้ที่มาร่วมงาน Chula Safety 2019 จะได้รู้จักศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ มากขึ้น ช่วยสร้างความตระหนักว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เราต้องมีจิตสำนึกทางด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ เช่น เวลาได้ยินเสียง Fire Alarm เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เราควรจะทำอย่างไรจึงจะไม่ตื่นตระหนกเกินไปและเอาตัวรอดได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย”                                                            ฐิตาภรณ์ เหลืองวิลัย และ เอกราช สมบัติสวัสดิ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า