รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กันยายน 2562
ข่าวเด่น
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับชมรมจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดจัดการประชุมวิชาการ “ชมรมจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4” ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องรัตนโกสินทร์-สุโขทัย ชั้น 1 โรงแรมนารายณ์ สีลม กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดด้วยเทคนิค Cognitive Behavioral Therapy (CBT) และเชื่อมโยงนักบำบัดในสหสาขาวิชาชีพเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ CBT ขึ้นในประเทศไทย โดยมีกิจกรรม Workshop ดังนี้
Workshop 1 – CBT for Psychosis
อ.ดร.นพ.สุทธา สุปัญญา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
อ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียนรู้ cognitive error ในผู้ป่วยที่มีอาการ psychosis เช่น หูแว่ว หลงผิด ทำความเข้าใจผู้ป่วยผ่านการทำ case formulation อย่างง่ายด้วยตนเอง รวมทั้งฝึกใช้เทคนิคของ CBT เพื่อลดอาการต่างๆ ของผู้ป่วย at-risk mental state และ schizophrenia (ผู้ที่เลือกเข้า workshop นี้ขอให้เตรียมหูฟังที่ใช้กับโทรศัพท์ของตนเองมาด้วยเพื่อฝึกปฏิบัติ)
Workshop 2 – CBT for Gambling Problem
คุณธนกฤษ ลิขิตธรากุล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และทีมงาน
ปัจจุบันปัญหาการพนันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้บุคคลทั่วไปในทุกช่วงวัยเข้าถึงการเล่นการพนันได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองทั้งในด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การนำ CBT ซึ่งมีหลักฐานในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพในหลายปัญหาทางสุขภาพจิตมาประยุกต์ใช้กับปัญหาพนัน สำหรับผู้ที่สนใจในการช่วยเหลือและเข้าใจผู้ที่มีปัญหาพนันผ่านมุมมอง CBT
Workshop 3 – CBT for Insomnia (CBT-I)
ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ใกล้ตัว และ ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตอย่างมาก เรียนรู้การรักษาการนอนไม่หลับด้วยวิธี CBT for Insomnia (CBT-I) ซึ่งเป็นการรักษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
Workshop 4 – Introducing Dialectical Behavior Therapy (DBT)
อ.พญ.วนิดา รัตนสุมาวงศ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
DBT เป็นแขนงหนึ่งของ CBT ที่พบว่าใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีปัญหา Emotional regulation เช่นในBorderline personality disorder หรือ Deliberate self-harm (เช่นวัยรุ่นกรีดข้อมือ) เรียนรู้หลักการพื้นฐานของ DBT และการประยุกต์ใช้
Workshop 5 – CBT for Weight Loss and Control
อ.ดร.ภัทรศิริ วิรุตมวงศ์ รพ.กรุงเทพ
ผู้เข้า workshop นี้จะได้ประสบการณ์เรียนรู้การนำเทคนิคของ CBT ไปใช้กับการควบคุมอาหารและน้ำหนัก เรียนรู้การจัดการความคิดที่เป็น Dysfunctional thought ซึ่งอาจทำให้แผนการควบคุมน้ำหนักไม่ได้ผล
Workshop 6 – How to Do Effective Socratic Questioning
ผศ.นพ.ชัยชนะ นิ่มนวล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Socratic questioning คือการใช้คำถามต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นกระบวนการคิดและนำไปสู่การค้นพบคำตอบด้วยตนเองโดยมีผู้บำบัดเสมือนเป็นผู้นำทาง (Guided discovery) ซึ่งเป็นเทคนิคที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของ CBT ใน workshop นี้อาจารย์วิทยากรจะถ่ายทอดว่าถ้าจะทำ Socratic questioning ให้ได้ผลดีนั้นทำได้อย่างไร
Workshop 7 – Design-Based Cognitive Behavioral Technology (DCBT)
อ.พญ.ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
อ.พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ บ.อาร์ทิพาเนีย
เมื่อนำการออกแบบโดยมีคนเป็นศูนย์กลางอย่าง Design Thinking ผสมผสานกับความรู้และทักษะการทำจิตบำบัดแบบ CBT จึงออกมาเป็น DCBT เพื่อ “ปรับความคิด ออกแบบพฤติกรรม” ภายใต้ชื่อ DCBT Lab เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่นและเยาวชน
Workshop 8 – Behavioral Experiment in CBT
ผศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ก็คิดได้แล้วแต่ทำไมยังไม่รู้สึกดี” มาเรียนรู้หาคำตอบของคำถามนี้ด้วย “การทดลอง” ทำอะไรบางอย่างเพื่อพิสูจน์และตรวจสอบความเชื่อ อันจะนำไปสู่ความความเปลี่ยนแปลงภายในที่ลึกลงไปมากกว่าแค่คิดได้เฉยๆ ผู้เลือกเข้า workshop นี้จะได้ประสบการณ์ลองทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในตนเอง
Workshop 9 – Acceptance and Commitment Therapy (ACT)
ผศ.ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ และ อ.ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวกันว่า ACT เป็นหนึ่งในพัฒนาการของ CBT ยุคที่ 3 ในปัจจุบันหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากบ่งชี้ว่า ACT เป็นจิตบำบัดที่มีประสิทธิภาพในการลดปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ อาทิ เช่น ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวลต่าง ๆ ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการของ ACT ในการลดปัญหาสุขภาพจิต
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครที่ https://bit.ly/2kkma4g พร้อมส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนมาที่ chanhathai.k@gmail.com หรือ โทรสาร 0-2218-2895 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2562
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2jNqvwu หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฉันท์หทัย กตัญญู ส่วนบริการวิชาการและวิจัย 2 ฝ่ายบริหารโครงการ โทร. 0-2218-2880 ต่อ 421-424 หรือทาง Facebook: CBT Alliance of Thailand
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้