รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 มีนาคม 2568
Awards & Honours, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ความเป็นนานาชาติ
ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย “การบริหารจัดการงานเทศกาลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ” ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่พร้อมภาคีความร่วมมือในงานวิจัย รับรางวัลในงานเทศกาลระดับนานาชาติ IFEA ASIA Awards 2025 จัดโดย IFEA ASIA ณ เมือง Gyeongju, ประเทศเกาหลีใต้ เนื่องในโอกาสครบรอบของ IFEA ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับมาตรฐานงานเทศกาลและเมืองเทศกาลมายาวนานถึง 70 ปี และมีสมาชิกมากกว่า 23 ประเทศทั่วโลก
ในปีนี้มีประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรมในส่วนของ IFEA ASIA ถึง 11 ประเทศ รวม 64 เมือง โดยประเทศไทยมีการผลักดันให้เกิดการยกระดับมาตรฐานของงานเทศกาลไทยให้มีความเป็นสากล และสร้างผลกระทบบวกเชิงเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิด Festival Economy ซึ่งการจัดประชุมและมอบรางวัลนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความสำเร็จของงานเทศกาลและส่งเสริมการพัฒนา รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มในการจัดงานเทศกาลในอนาคตจากกลุ่มสมาชิกและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก
จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ IFEA Asia Pinnacle Awards & ASIA Festival City Conference 2026 แล้ว ยังได้รับรางวัลสำคัญถึง 3 รางวัล ได้แก่
– รางวัล Asia Festival Award 2025 ในสาขา “Asia World Heritage City and Festival”
– รางวัล “Asia Pinnacle Awards” จาก “เทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่” 2 รางวัล ได้แก่ ด้าน “Best Event Program” และ ด้าน “Best PR & Marketing”
ความสำเร็จจากเทศกาลดังกล่าวเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ และภาคีหลัก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB สมาคมการค้าวิศิษฏ์ล้านนาเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและกลุ่มชุมชนในพื้นที่ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการออกแบบเพื่อสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Social Design Lab) โดย ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แผนงานท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ที่ร่วมใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเพื่อวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ รวมถึงการดำเนินการจัดงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ ในการช่วยเพิ่มศักยภาพของงานเทศกาลและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล รวมถึงส่งเสริมล้านนาซอฟต์พาวเวอร์ผ่านการยกระดับงานเทศกาลที่สืบเนื่องมาจากการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ สกสว. TCEB และสมาคมการค้าวิศิษฏ์ล้านนาฯ
ทั้งนี้ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นตัวแทนร่วมรับทั้ง 3 รางวัล กับภาคีของการดำเนินการจัดงานเทศกาลยี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ TCEB สำนักภาคเหนือ โดยคุณศิวะภรณ์ ปิยะพรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักภาคเหนือ TCEB ดร.วิศิษฏ์มน ศรีนิลทา และคุณวรวิทย์ มาแก้ว ผู้แทนฯ สมาคมการค้าวิศิษฏ์ล้านนาฯ โดยคุณละเอียด บุ้งศรีทอง นายกสมาคมฯ และคุณทิพาภรณ์ วิชัยขัทคะ ร่วมด้วย ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ผู้แทนสำนักคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผศ.อนพัทย์ หนองคู สำนักประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. และ ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ หัวหน้าโครงการและผู้แทนทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรม “Book & Gift For Share” เนื่องในวันหนังสือเด็กสากล 2 เมษายน
2 เม.ย. 68
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk: Study Safe, Stay Calm เรียนได้ อยู่ดี ภัยพิบัติใด ก็ไม่หวั่น
4 เม.ย. 68 เวลา 2.00 -13.00 น.
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ (หอสมุดกลาง)
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ เชิญชมนิทรรศการ “ร่วมรากแรกศก รื่นเริง มรดกสงกรานต์” ณ มิวเซียมสยาม
จุฬาฯ ชวนเรียนคอร์สออนไลน์ “รู้ทันแผ่นดินไหว ภัยใกล้ตัว” บนแพลตฟอร์ม CHULA MOOC
นักวิจัยสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ เป็นวิทยากรโครงการอบรมเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการขนส่งของกรมการขนส่งทางบก
จุฬาฯ ตรวจความปลอดภัยอาคารทั่วมหาวิทยาลัย หลังเหตุแผ่นดินไหว พร้อมเดินหน้ากิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้