รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
วง Royal Bangkok Symphony Orchestra (RBSO) ได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสิร์ต ณ เมือง St. Petersburg และ กรุง Moscow สหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 โอกาสนี้ได้อัญเชิญบทเพลงพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 2 บทเพลงไปบรรเลงในคอนเสิร์ตครั้งนี้คือ Le Mariage de Minuit – Fantaisie pour piano et orchestra และ Concerto for Violin and Orchestra “NEFRERETTA”
นอกจากนี้บทเพลง “Siam Soundscapes” ผลงานการประพันธ์เพลงของ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ศิลปินแห่งชาติ ปี 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ประพันธ์เพลงคลาสสิก) อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอีกหนึ่งบทเพลงที่ที่วง RBSO ได้นำไปเผยแพร่และจัดแสดงที่สหพันธรัฐรัสเซีย
บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และบทเพลง “Siam Soundscapes” ได้ถูกนำไปจัดแสดงเผยแพร่ต่อสาธารณชนชาวรัสเซีย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ณ St. Petersburg Philharmonia เมือง St. Petersburg และวันที่ 4 เมษายน 2568 ณ Zaryadye Concert Hall กรุง Moscow โดย อ.ดร.ยศ วณีสอน อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้ากลุ่มคลาริเน็ตประจำวง RBSO ได้ร่วมบรรเลงในคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย โดยมี ดร.วานิช โปตะวณิช ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้อำนวยเพลง
การแสดงคอนเสิร์ตครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีของไทยสู่ระดับนานาชาติ และเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ
รายการแสดง
Programme: Narongrit Dhamabutra: “Siam Soundscapes”HRH Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya:Fantaisie pour Piano et OrchestraConcerto for Violin and Orchestra “NEFRERETTA”Fantasia on Themes of His Majesty King Bhumibol AdulyadejConductor: Vanich PotavanichPiano: Dmitry MasleevViolinist: Haik Kazazyan
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันจักรี
สำนักตรวจสอบ จุฬาฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสายตรวจสอบกิจการภายใน ธนาคารแห่งประเทศไทย
อธิการบดีจุฬาฯ พบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศ และนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พูดคุยความร่วมมือจุฬาฯ กับโครงการธนาคารเพื่อคนจน
นิทรรศการ “ปฐมกาล ผ่านสายตาสยามและเปอร์เซีย” ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เล่าตำนานจากการตีความผ่านภาพวาดของสองศิลปินจากประเทศไทยและอิหร่าน
ศศินทร์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ EFMD Social Impact 2025
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศและนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เชิญร่วมงานสัมมนาที่จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้