รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 เมษายน 2568
ข่าวเด่น
เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพ สายปฏิบัติการ วิชาชีพประชาสัมพันธ์ จุฬาฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กลยุทธ์การวางแผนประชาสัมพันธ์สู่ความสำเร็จในงาน PR ยุคใหม่” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ณ ห้อง 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) โดยคุณสราวุธ บูรพาพัธ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บริษัท มาร์เก็ต-คอมส์ จำกัด เป็นวิทยากร เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการวางแผนงานเพื่อการประชาสัมพันธ์ตอบสนองทิศทางการสื่อสารในยุค AI และภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนหลักการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต โดยมีคุณธาริณี ไชยประพาฬ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ประธานเครือข่ายฯ วิชาชีพประชาสัมพันธ์ เป็นผู้กล่าวเปิดการอบรม มีกรรมการเครือข่ายฯ วิชาชีพประชาสัมพันธ์และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการอบรมจำนวน 55 คน
คุณสราวุธ บูรพาพัธ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโลกการสื่อสารยุคใหม่ บทบาทของนักประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป นักประชาสัมพันธ์ไม่ได้ทำหน้าที่ “แจ้งข่าว” เพียงอย่างเดียว แต่เป็น “ผู้จัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคมในทุกมิติ” เป็นผู้ประสานประโยชน์ระหว่างคณะ หน่วยงาน นิสิต บุคลากร และสาธารณชน โดยทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนภาพลักษณ์ของสถาบันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การจัดการสื่อสารภายในองค์กร และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนงานวิจัย งานบริการวิชาการและกิจกรรมนิสิต ความคาดหวังขององค์กรและผู้รับสารในวันนี้ไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูล แต่ต้องการความโปร่งใส เข้าใจง่าย และมีคุณประโยชน์ นักประชาสัมพันธ์ได้รับการคาดหวังจากผู้บริหารในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือขององค์กร การสื่อสารเชิงรุกในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และงานวิจัย การป้องกันและการจัดการข่าวลบหรือความเข้าใจผิดในสังคม ในขณะที่ประชาคมจุฬาฯ นิสิตและสาธารณชนมีความคาดหวังในการรับรู้ข้อมูลที่รวดเร็วและน่าเชื่อถือ โดยชื่นชอบ Content ที่สั้น กระชับ ผ่าน Platform ทาง Facebook, Instagram, TikTok, เว็บไซต์ และ LINE
คุณสราวุธให้ข้อมูลว่า 78% ของคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มา ความเร็วในการตอบโต้และการมีปฏิสัมพันธ์คือปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์กร ทั้งความไวในการสื่อสาร การสื่อสารอย่างต่อเนื่องและไม่หายไปในภาวะวิกฤต นักประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ต้องปรับตัวให้ทันในยุค AI เช่น การใช้ ChatGPT และเครื่องมือ AI อื่น ๆ ในการทำงานประชาสัมพันธ์ โดย AI เป็น “ผู้ช่วย” ไม่ใช่ “ผู้แทน” เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์ยังต้องใช้ความเข้าใจในบริบท มนุษยสัมพันธ์และวิจารณญาณ การใช้ AI อย่างมีวิจารณญาณเป็นหัวใจสำคัญของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
นอกจากนี้ คุณสราวุธยังได้แนะนำเทคนิคในการทำแผนประชาสัมพันธ์ระยะสั้น แผนประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีเป้าหมาย ทิศทาง และผลลัพธ์ที่วัดได้ องค์ประกอบแผนประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ ใครคือกลุ่มเป้าหมายหลัก ข้อความหลัก (Key Message) ที่ต้องการสื่อ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม เนื้อหาที่นำเสนอ และวิธีวัดผลสำเร็จของแผนประชาสัมพันธ์ “แผนประชาสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องใหญ่โต ขอแค่ชัดเจน ตรงกลุ่ม วัดผลได้ในระยะเวลาอันสั้น อย่าเริ่มที่จะโพสต์อะไร ให้เริ่มที่อยากให้คนคิดหรือทำอะไรหลังจากเห็นโพสต์นั้น”
ในด้านการจัดการสื่อสารในภาวะวิกฤต จะต้องวิเคราะห์วิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของปัญหาและผลกระทบ ข้อความหลักในการสื่อสารจะต้องเป็นประโยคที่ไม่ทำให้หลงประเด็น สามารถสื่อความในสิ่งที่องค์กรต้องการและกลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำได้ เนื้อหาคำแถลงการณ์ ประกอบด้วยการเปิดเผยข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบหรือความคืบหน้า การสร้างความมั่นใจโดยให้ข้อมูลในสิ่งที่องค์กรดำเนินการไปแล้ว การให้ข้อมูลพื้นฐาน และแสดงความเสียใจหรือแสดงความห่วงใย
สสส. ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ รณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
อบรมเตรียมความพร้อมสู่การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ “C-F-P Ready for Practice”
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันจักรี
อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติ
สำนักตรวจสอบ จุฬาฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสายตรวจสอบกิจการภายใน ธนาคารแห่งประเทศไทย
อธิการบดีจุฬาฯ พบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศ และนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พูดคุยความร่วมมือจุฬาฯ กับโครงการธนาคารเพื่อคนจน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้