รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านประสาทศาสตร์การรู้คิด การดูแลผู้ป่วยและการคำนวณ จุฬาลงกรณ์ จัดโครงการ “ในทรงจำนำทางอันรางเลือน นิทรรศการข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับแง่มุมอันหลากหลายของความทรงจำ” ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 1 พฤษภาคม 2568 ณ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
พิธีเปิดโครงการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 มีนางสาวชนน์ชนก พลสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม กล่าวต้อนรับ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวแสดงความยินดี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของนิทรรศการในมิติการแพทย์ และ ผศ.ดังกมล ณ ป้อมเพชร รองคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของนิทรรศการในมุมมองอักษรศาสตร์และวัฒนธรรม
“ในทรงจำนำทางอันรางเลือน” เป็นนิทรรศการข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์และศิลปะเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับแง่มุมอันหลากหลายของความทรงจำ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความทรงจำ และเจาะลึกความทรงจำผ่านแง่มุมทางชีววิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยา ผ่านนิทรรศการในรูปแบบสหวิทยาการ ตลอดจนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างนักวิชาการจากหลากหลายสาขา ระหว่างชุมชนวิชาการกับชุมชนศิลปะ ด้วยการนำเสนอมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับความทรงจำ โดยมี รศ.พิเศษ ดร.นพ.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
นิทรรศการนี้มุ่งหวังที่จะสร้างบทสนทนาที่มีชีวิตชีวาและกระตุ้นให้ผู้เข้าชมเห็นถึงความเชื่อมโยงของความทรงจำที่มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อประสบการณ์ทั้งในระดับบุคคลและสังคม นิทรรศการทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือซึ่งเริ่มต้นโดยคณาจารย์ใหม่จากหลากหลายสาขาวิชาในจุฬาฯ ร่วมกับศิลปินร่วมสมัย เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือข้ามศาสตร์ที่มีคุณค่าในอนาคต
CUVIP เชิญร่วมเรียนรู้เรื่อง “กายวิภาคสัตว์เลี้ยง: กุญแจสู่การดูแลและปฐมพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ”
24 เมษายน 2568 เวลา 16.30 - 19.00 น. ทาง Zoom
ศศินทร์จัดสัมมนา “Inspire. Connect.Transform: บทบาทของโรงเรียนธุรกิจในการจัดการกับปัญหาของกิจการเพื่อสังคม
23 เมษายน 2568 เวลา 12.00 -13.00 น. ห้อง 502 อาคารศศปาฐศาลา
“สงกรานต์สยามผ้าขาวม้า สาดสนุก สุดอะเมซิ่ง” งานสงกรานต์ร่วมสมัยที่สยามสแควร์ พื้นที่แห่งความสุขของทุกคน
พิธีปิดโครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย ประจำปี 2568 พัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ผลงานนิสิตและคณาจารย์ด้านดนตรีไทย
เอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐเม็กซิโกประจำประเทศไทยเยือนจุฬาฯ สนใจขยายความร่วมมือ กระชับความสัมพันธ์อันดี
จุฬาฯ และ Institute of Science Tokyo หารือความร่วมมือด้านการวิจัยในอนาคต
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้