ข่าวสารจุฬาฯ

พิธีปิดโครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย ประจำปี 2568 พัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ผลงานนิสิตและคณาจารย์ด้านดนตรีไทย

           สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย: การพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ผลงานนิสิตและคณาจารย์ด้านดนตรีไทย ประจำปี 2568 การแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ของนิสิตและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวปิดโครงการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ

             

           “โครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย : การพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ผลงานนิสิตและคณาจารย์ด้านดนตรีไทยศึกษา” เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักบริหารวิชาการ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ อาจารย์ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ ที่ผ่านมามีการจัดโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องกว่า 12 ปี เนื่องจากสาขาวิชาดนตรีศึกษาฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้ด้านดนตรีไทยที่ปัจจุบันมักไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานหรือลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระบบ ตลอดจนครุศิลปินต้นแบบลดน้อยลง โครงการนี้มุ่งศึกษารวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอัตลักษณ์กระบวนการ เทคนิคและวิธีการปรับให้เป็นระบบและรูปธรรมโดยเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้กับครุศิลปินต้นแบบที่หลากหลาย อาทิ ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยจากหลายสำนัก โครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย ประจำปี 2568 ได้รับเกียรติจากครูต้นแบบทั้งสิ้น 6 ท่าน ได้แก่ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครูสมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ รศ.ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน  ครูจีรพล เพชรสม ครูสุวัฒน์ อรรถกฤษณ์ และครูบุญถึง พระยาชัย

            กิจกรรมในโครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย  ประจำปี 2568 ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะนิสิต (เสริมหลักสูตร) ด้านการบรรเลง และกลวิธีการสอนทักษะปี่พาทย์ เครื่องสายไทย เครื่องหนังไทย และการขับร้องเพลงไทย และกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานิสิตในการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติทักษะเครื่องดนตรีไทยและการรวมวงขั้นพื้นฐาน รายการแสดงประกอบด้วยบทเพลงเต่ากินผักบุ้ง ทางขยี้ บรรเลงโดยวงมหาดุริยางค์ไทย บรรเลงโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับนิสิตจุฬาฯ เพลงทยอยเขมร สามชั้น บรรเลงโดยวงเครื่องสายไทย และเพลงทยอยเขมร เถา บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า