รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว, หลักสูตรระยะสั้น
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริษัท ซียู นิเทด เอ็กซ์เทนชั่น จำกัด ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการค่ายผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียน-นักศึกษา และหลักสูตรออนไลน์ด้านภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และแอนิเมชัน สำหรับประชาชนทั่วไป” ภายใต้นโยบาย “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ณ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
งานแถลงข่าวครั้งนี้มีนายชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร OFOS สาขาภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และแอนิเมชัน นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ตัวแทนคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ด้านภาพยนตร์และซีรีส์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน โดยกล่าวว่า “ภาพยนตร์เป็น Soft Power ที่บรรจุอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และความคิดที่จะพาทุกอย่างในประเทศเราไปสู่สายตาโลก เรากำลังสร้างมาตรฐานร่วมที่ทำให้นักศึกษาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยเรียนรู้พื้นฐานเดียวกัน พร้อมทำงานจริงได้ทันทีเมื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาจับมือกับภาคเอกชน เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยสร้างกระแสภาพยนตร์ไทยให้ตื่นตัวมากยิ่งขึ้น”
ในโอกาสนี้ คุณวราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวตอบรับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กล่าวเปิดงาน จากนั้น รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และผู้แทนจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ กล่าวถึงโครงการนี้
โครงการค่ายผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียน-นักศึกษา และหลักสูตรออนไลน์ด้านภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และแอนิเมชัน สำหรับประชาชนทั่วไป แบ่งออกเป็น
– ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้นระดับมัธยมศึกษา จำนวน 7 โครงการ รวม 12 ครั้ง ประกอบด้วย
1. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : Bangkok และ Central (ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ภาคกลาง) จำนวน 2 ครั้ง
2. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : SWU ( ในพื้นที่ภาคตะวันออก) จำนวน 1 ครั้ง
3. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : KMITL (ในพื้นที่ภาคใต้) จำนวน 1 ครั้ง
4. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : Chiang Mai 1-2 (ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน) จำนวน 2 ครั้ง
5. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : MJU 1-2 (ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง) จำนวน 2 ครั้ง
6. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : Khon Kaen 1-2 (ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน) จำนวน 2 ครั้ง
7. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา : MSU 1-2 (ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) จำนวน 2 ครั้ง
- ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้นระดับอุดมศึกษา (จำนวน 7โครงการ รวม 15 ครั้ง)
1. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีและสารคดีสำหรับนิสิตนักศึกษา
ระดับอุดมศึกษา : Metropolitan Hub (ภาพยนตร์บันเทิงคดี และภาพยนตร์สารคดี) จำนวน 2 ครั้ง
2. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีซีรีส์ และบันเทิงคดีภาคใต้ :
Urban Center & Southern Sight สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ซีรีส์, ภาพยนตร์บันเทิงคดี และภาพยนตร์ บันเทิงคดีภาคใต้) จำนวน 3 ครั้ง
3. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน 2D และ 3D สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Tech Vision (2D Animation และ 3D Animation) จำนวน 2 ครั้ง
4. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคเหนือและภาพยนตร์ทดลองสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Lanna Legacy (ภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคเหนือและภาพยนตร์ทดลอง) จำนวน 2 ครั้ง
5. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์แฟนตาสติกแนวจินตนาการ/วิทยาศาสตร์ และสยองขวัญ สำ หรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Fantastic Film (ภาพยนตร์ Fantasy Sci-fi และภาพยนตร์ Horror) จำนวน 2 ครั้ง
6. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีอีสาน สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : E-San Insight (ภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 และภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) จำนวน 2 ครั้ง
7. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์แนวแอ็กชันและดุริยนาฏกรรมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Action & Musical (ภาพยนตร์แอ็กชัน และภาพยนตร์เพลง/นาฏกรรม) จำนวน 2 ครั้ง
โครงการหลักสูตรออนไลน์ด้านภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์และแอนิเมชัน ประกอบด้วย
9 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
โครงการที่ 1 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซีรีส์และแอนิเมชัน โดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย (จำนวน 12 หลักสูตร)
1. หลักสูตรการเขียนบทสำหรับภาพยนตร์ 101
2. หลักสูตรการพัฒนาไอเดียสู่ภาพยนตร์สั้น
3. หลักสูตรการวางบล็อคกิ้งและออกแบบมิซองซีน
4. หลักสูตรการกำกับฉากแอ็คชั่นเบื้องต้น
5. หลักสูตรตำแหน่งและการประสานงานในกองถ่าย
6. หลักสูตรการควบคุมความต่อเนื่องขั้นพื้นฐาน
7. หลักสูตรการหาทุนและ Pitching
8. หลักสูตรการจัดการทรัพยากรและอำนวยความสะดวกในกองถ่าย
9. หลักสูตรการพัฒนาโครงการร่วมผลิตระหว่างประเทศ
10. หลักสูตรกลยุทธ์การตลาดและจัดจำหน่าย
11. หลักสูตรกระบวนการตัดต่อ Post Production 101
12. หลักสูตรการเล่าเรื่อง รื่ ผ่านการลำ ดับภาพและจังหวะการตัดต่อ 101
โครงการที่ 2 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ e-Learning เรื่องการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยใช้แสงธรรมชาติและการจัดการข้อมูลในกองถ่าย โดย สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA) (จำนวน 2 หลักสูตร)
1. หลักสูตรการถ่ายภาพยนตร์โดยใช้แสงธรรมชาติ (Natural Light Cinematography)
2. หลักสูตรการจัดการข้อมูลในกองถ่าย
โครงการที่ 3 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะนักแสดงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และวีดิวีดิทัศน์ (TOSAA Courses) โดยสมาคมนักแสดง (ประเทศไทย)(จำนวน 2 หลักสูตร)
1. หลักสูตรการวิเคราะห์และตีความบทบาท
2. หลักสูตรการเตรียมตัวเพื่อการคัดเลือก Audition
โครงการที่ 4 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแอนิเมชันและวิชชวลเอฟเฟกต์ โดยสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กร์ ราฟิกส์ไส์ทย (จำนวน 2 หลักสูตร)
1. หลักสูตร Basic Animation 101
2. หลักสูตรการถ่ายทำฉาก VFX สำหรับ Production
โครงการที่ 5 การจัดทำหลักสูตรและสื่อการสอนแบบวิดีโอเรื่องการเขียนบทซีรีส์เบื้องต้นและการดัดแปลงนวนิยายเป็นบทละครโทรทัศน์ โดยสมาคมนักเขียขีนบทละครโทรทัศน์ (TSA)(จำนวน 2 หลักสูตร)
1. หลักสูตรการเขียนบทสำหรับซีรี่ส์ 101
2. หลักสูตรการดัดแปลงบทประพันธ์
โครงการที่ 6 การผลิตหลักสูตรและสื่อการสอนความรู้ด้านการจดจัดตั้งบริษัทและภาษีสำหรับบุคคลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์และแอนิเมชัน โดยบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 หลักสูตร)
1. หลักสูตรภาษีสำหรับผู้ประกอบการ Production House
โครงการที่ 7 การผลิตหลักสูตรและสื่อการสอนความรู้ด้านการผลิตและการออกแบบฉาก สำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน โดยบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (จำนวน 2 หลักสูตร)
1. หลักสูตรการออกแบบและสร้างสรรค์ฉากสำหรับภาพยนตร์
2. หลักสูตรการบริหารจัดการและการควบคุมงบประมาณในการสร้างฉาก
โครงการที่ 8 การผลิตหลักสูตรและสื่อการสอนความรู้ด้านการจัดการและบริหารลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน โดยบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 หลักสูตร)
1. หลักสูตรการจัดการลิขสิทธิ์และสัญญาจ้างงาน
โครงการที่ 9 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์อบรมพื้นฐานอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์ อบรมการจัดแสงภาพยนตร์เบื้องต้น โดย บริษัท เกียร์เฮด จำกัด (จำนวน 2 หลักสูตร)
1. หลักสูตรรู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ (กล้อง ไฟ กริป 101)
2. หลักสูตรการจัดแสงเพื่อสร้างมิติและอารมณ์ให้กับภาพ
ทุกหลักสูตรในโครงการนี้เปิดให้เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
นักเรียนและนักศึกษาสามารถติดตามข้อมูลการสมัครค่ายได้ทางช่องทางโซเชียลมีเดียของ Thailand Creative Content Agency (THACCA) สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย Studio Commuan และสถาบัน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วม
ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเรียนหลักสูตรออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ https://ofos.thacca.go.th
จุฬาฯ จับมือสมาคมกีฬาเเบดมินตันเเห่งประเทศไทยฯ ร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมแสดงความอาลัยต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดเวิร์กช็อป “รัก ร้อง เล่น ตัดปะ: วรรณคดีไทยสร้างสรรค์ กับการสรร(ค์)สร้างการเรียนรู้”
13-15 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00-16.00 น.
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. เป็นประธานการประชุมสามัญ ทปอ. และสมาคม ทปอ. ครั้งที่ 2/2568 และการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
เชิญร่วมงาน iCAF 2025 งานแฟร์ครบรอบ 20 ปีหลักสูตรนานาชาตินิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมงานเสวนาวิชาการ หลักสูตร ZEN “ถอดรหัสการตลาดแบบญี่ปุ่น: ความลับเบื้องหลังความสำเร็จอย่างยั่งยืนตลอด 100 ปี”
24 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 15.30 น. ห้อง CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 ชั้น 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้