รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ภายใต้โครงการพัฒนากลไกวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพจิต โดยคณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และเครือข่ายทางสังคม โดยมีผู้รับทุนและภาคีเครือข่ายของโครงการมานำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น ประสบการณ์ในการทำงาน และผลักดันนโยบายสร้างเสริมสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวเปิดงาน ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวถึงวิสัยทัศน์และการทำงานของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “ระบบนิเวศนโยบายส่งเสริมสุขภาวะทางจิต” “กลไกส่งเสริมสุขภาวะทางจิตในองค์กรและสถานศึกษา” และ “แผนดำเนินงานในอนาคตของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS)”
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต ให้เป็นกลไกหลักของประเทศในการส่งเสริมองค์ความรู้ พัฒนานวัตกรรม และนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน สุขภาพจิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านอื่น ๆ และในบางมิติอาจมีความซับซ้อนและท้าทายมากยิ่งกว่า การพัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนไทยอย่างยั่งยืนจึงเป็นเป้าหมายร่วมที่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากหลายศาสตร์ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีในการวางรากฐานทางวิชาการที่ไม่เพียงแต่เน้นมิติด้านการศึกษา หากยังครอบคลุมถึงการพัฒนาทั้งทางกายและทางใจ เพื่อให้เกิดสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีทั้งในระดับปัจเจกและส่วนรวมอย่างแท้จริง
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยว่า สสส. เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นปัญหาที่สะท้อนโครงสร้างทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การมีสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิตจะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพจิตให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมองค์ความรู้และแนวทางเชิงปฏิบัติ เช่น การปฐมพยาบาลทางใจที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างได้ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ ภาคนโยบาย และภาคสังคม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีสุขภาวะทางจิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่าสองปีที่ผ่านมา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนากลไกวิชาการเพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศทางสุขภาพจิต โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ต้นทาง มิใช่เพียงรอรับเมื่อเกิดโรคหรือภาวะวิกฤต สุขภาพจิตที่ดีไม่สามารถสร้างได้จากการบริการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและสภาพแวดล้อมรอบตัวของประชาชน ทั้งในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสถานที่ทำงาน การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อสุขภาวะจึงเป็นหัวใจของการดำเนินงานที่เราเชื่อมั่น
ผศ.ดร.ณัฐสุดา ได้ยกตัวอย่างโครงการ “ม้านั่งมีหู” (Bench with Ears) ซึ่งเป็นนวัตกรรมชุมชนที่ออกแบบพื้นที่ปลอดภัยทางใจสำหรับการพูดคุย การรับฟัง และการเยียวยาเบื้องต้น โดยมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการฟังอย่างตั้งใจ (active listening) มานั่งประจำในพื้นที่สาธารณะ เช่น ลานชุมชน โรงเรียน หรือวัด เพื่อให้ผู้คนที่มีความเครียด ความกังวล หรือภาวะทางจิตใจเบื้องต้น ได้รับการรับฟังอย่างอ่อนโยน ไม่ตัดสิน เป็นการเปิดพื้นที่สำหรับความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเริ่มโครงการในเดือนพฤษภาคมนี้
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย THE Awards Asia 2025 “MDCU MedUMORE” คว้า Winner ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและร่วมตักบาตร เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภากาชาดไทยครบรอบ 132 ปี
จุฬาฯ จัดกิจกรรม “บุญสุนทาน” ตักบาตรพระสงฆ์ ที่เรือนไทยจุฬาฯ
“Nano-herbs dental care spray” สเปรย์สมุนไพรรักษาโรคปริทันต์สำหรับสุนัข ผลงานนักวิจัยคณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ คว้ารางวัลการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติที่สวิตเซอร์แลนด์
ศศินทร์-SCGC จุดประกายสตาร์ตอัป สร้างอิมแพค พลิกโลกธุรกิจ สู่ความยั่งยืน บนเวที Bangkok Business Challenge 2025 – Growing Impactful Ventures
เสวนา “ถอดรหัสความสำเร็จ 100 ปีของการตลาดญี่ปุ่น สู่แนวคิด ZEN Marketing ที่ยั่งยืน”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้