รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จัดการเสวนาวิชาการ เรื่อง “การขนส่งและโลจิสติกส์ไทยในยุคสงครามการค้า” เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 ณ ห้อง 802 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานเปิดการเสวนา และ ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ กล่าวรายงาน
จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อโลจิสติกส์ไทยในยุคสงครามการค้า โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนและภาควิชาการร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร. สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์พิเศษหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และอดีตผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ คุณภคิน คัมภิรานนท์ ที่ปรึกษาอิสระด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนคุณบวรสินธุ์ ตันธุวนิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโงวฮก จำกัด และกรรมการบริหารสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ คุณกัณณ์กรรัตน์ ไตรธนานุบาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซ โกลบอล เอ็กซ์เพรส จำกัด ดร.สุรัตน์ จันทองปาน รองนายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) และที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ดนุพล อริยสัจจากร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และกรรมการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การเสวนาวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าต่อระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทย ทั้งในระดับนโยบายและการดำเนินงานจริงของภาคธุรกิจ รวมถึงการสะท้อนมุมมองจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อหาแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ท่ามกลางบริบทเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน พร้อมเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และเศรษฐกิจของไทยให้มีความแข็งแกร่ง ยั่งยืนและยืดหยุ่น พร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์สงครามการค้าโดยจะเจาะลึกผลกระทบนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาต่ออุสาหกรรมโลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศของไทยเพื่อเปลี่ยนมุมมองเชิงกลยุทธ์ การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังกันระหว่างสถาบันการขนส่ง สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน การถอดรหัสความคิดจากวิทยากรในการเสวนาในครั้งนี้จะจุดประกายความคิดในการเปลี่ยนสงครามทางการค้าให้เป็นสันติภาพทางการค้า ปัจจุบันการขนส่งและโลจิสติกส์เป็นกลไกที่เชื่อมโยงสินค้าต้นทุนและโอกาสทางการค้าเข้าด้วยกันทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล การสัมมนาครั้งนี้จะเป็นเสียงสะท้อนที่นำไปสู่แนวทางนโยบายการปฏิบัติในภาครัฐ รวมทั้งเป็นการต่อยอดตามพลังของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยความเชื่อมั่นว่าเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ที่การศึกษาเท่านั้น แต่รวมถึงการนำเสนอนโยบายและทิศทางอันเป็นประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ กล่าวว่า สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจโลกที่กำลังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งในด้านนโยบายการค้าและมาตรการภาษีนำเข้าของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือความผันผวนที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจระบบเปิดซึ่งพึ่งพาการค้าในระดับนานาชาติค่อนข้างมากเมื่อปริมาณการค้าลดลง ผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดวิกฤตและสงครามทางการค้าจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางเรือ ทางรถบรรทุก ทางราง หรือทางอากาศ ถ้าเราสามารถคาดการณ์ในการประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบการเหล่านี้จะสามารถปรับตัวและลดผลกระทบที่มีความรุนแรงให้ลดลงได้
ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวเสริมอีกว่าบทบาทของภาครัฐซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือภาคธุรกิจให้สามารถประคองตัวผ่านช่วงวิกฤตได้ โดยเฉพาะการเจรจาการค้าเพื่อลดผลกระทบและช่วยพยุงสถานะของผู้ประกอบการเอกชน ภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลจากภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การเจรจาการค้าอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการขนส่งและโลจิสติกส์จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมโดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินกิจการของตนเอง พยายามปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น สามารถพยุงธุรกิจให้อยู่รอดได้ในวิกฤตการณ์การค้าที่เกิดขึ้นให้ได้นานที่สุด
“เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการเรื่องผลกระทบและความห่วงกังวลจากสงครามการค้าจากการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลให้ภาครัฐนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการเจรจาการค้าที่เหมาะสม ซึ่งจะเกิดประโยชน์ไม่เพียงเฉพาะผู้ประกอบการ แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยโดยรวม” ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ ร่วมกับ 6 ชุมชนบางขุนเทียน จัด “เทศกาลฟาร์มทะเลกรุงเทพ” ต้นแบบกิจกรรมพัฒนาชุมชน สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Best Poster Award การประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มาเลเซีย
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย THE Awards Asia 2025 “MDCU MedUMORE” คว้า Winner ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและร่วมตักบาตร เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภากาชาดไทยครบรอบ 132 ปี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้