รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 เมษายน 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคุณวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ร่วมแถลงข่าววัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่) นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก ในโอกาสที่การพัฒนาและวิจัยทางคลินิกวัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่) ประสบความสำเร็จและได้ขึ้นทะเบียนตำรับวัคซีน โดยมี ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ และ รศ.นพ.สุรสิทธิ์ ชัยทองวงศ์วัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมงานแถลงข่าวและร่วมเสวนาความสำเร็จในการร่วมมือพัฒนาและวิจัยทางคลินิกวัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่) สำหรับหลายช่วงวัย
โรคไอกรน (pertussis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งก่อให้เกิดอาการไข้สูง ไอรุนแรงในเด็กเล็กจนอาจต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้ อาการของโรคในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มักมีอาการไอเรื้อรังมากกว่า 2-3 สัปดาห์ และพบว่าอาการมีความรุนแรงมากขึ้นในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง การติดต่อแพร่เชื้อโดยการไอ จามจากบุคคลที่เป็นโรคที่มีการติดเชื้อไปสู่คนที่อยู่ใกล้ชิดกันโดยเฉพาะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไอกรนสู่ทารกที่มีความเสี่ยงสูงรวมทั้งการแพร่ไปสู่บุคคลอื่น เช่น คนในบ้าน เด็กเล็ก ในโรงเรียน คนเลี้ยงเด็ก ทหารในค่าย การให้การวินิจฉัยโรคไอกรนเป็นไปได้ยากเพราะอาการไอเรื้อรังแพทย์ไม่สามารถแยกจากการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ต้องส่งตรวจโดยป้ายสิ่งคัดหลั่งจากลำคอส่งตรวจพีซีอาร์ซึ่งยุ่งยากและมีราคาแพง ทำให้แพทย์มักไม่ได้ให้การวินิจฉัยโรคนี้และทำให้การให้ยาต้านจุลชีพล่าช้า เป็นผลให้ผู้ป่วยต้องมารับการตรวจรักษาหลายครั้ง หรือต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ในประเทศไทยพบว่าโรคไอกรนของเด็กทารกลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการฉีดวัคซีนแบบรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน 3 ครั้งในเด็กขวบปีแรก อย่างไรก็ตามรายงานโรคไอกรนในประชากรไทยน่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงมากคล้ายกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ปัจจุบันอุบัติการณ์โรคไอกรนพบสูงขึ้นในทั้งเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่ รวมทั้งมีการระบาดในบางพื้นที่เช่นในจังหวัดภาคใต้ ในโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นผลของการที่ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนในวัยเด็กเริ่มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นการให้วัคซีนป้องกันโรคไอกรนใน สตรีตั้งครรภ์ วัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพียงพอน่าจะเป็นทางเดียวในการลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไอกรนในเด็กทารกซึ่งมีอัตราป่วยตายสูง และการฉีดวัคซีนแก่ประชากรยังมีผลในการลดป่วยและลดการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น
วัคซีนป้องกันโรคไอกรนที่ใช้ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งวัคซีนแบบรวมคือ วัคซีนบาดทะยัก คอตีบและไอกรน (Tdap) ซึ่งเป็นวัคซีนนำเข้าจากต่างประเทศ และวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ซึ่งถูกคิดค้นและผลิตโดยบริษัทในประเทศไทยซึ่งมีขบวนการผลิตวัคซีนที่แตกต่างจากวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทในยุโรปซึ่งมี 2 ชนิดคือ วัคซีนรวมโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ (Tdap (recombinant)) และวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ชนิดเดี่ยว (Recombinant acellular pertussis vaccine; ap) ซึ่งวัคซีนได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันโรคโดยการฉีดแก่หญิงตั้งครรภ์ในช่วงตั้งครรภ์ 20-36 สัปดาห์เพื่อการป้องกันโรคไอกรนในเด็กแรกเกิด ขณะเดียวกันการให้วัคซีนในวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคและส่งผลลดการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น
โครงการวิจัย PreBoost ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาการสร้างภูมิคุ้มกันโรคไอกรนและความปลอดภัยที่เกิดจากการใช้วัคซีนสูตรใหม่แบบลดขนาด (low-dose 2 microgram) ของวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ในกลุ่มประชากรทั่วไป (วัยรุ่นและผู้ใหญ่) และประชากรกลุ่มเปราะบาง (เช่น หญิงตั้งครรภ์) เพื่อนำไปสู่การขึ้นทะเบียนวัคซีนสำหรับการป้องกันโรคไอกรน โดยทำการศึกษาวัคซีนสูตรใหม่แบบลดขนาด (low-dose 2 microgram) ในรูปแบบวัคซีนไอกรนชนิดเดี่ยว (Recombinant acellular pertussis vaccine; ap-2,5) และวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ (Tetanus-diphtheria-recombinant ap vaccine, Tdap-2,5) เปรียบเทียบกับวัคซีน Tdap ที่ผลิตโดยบริษัทในยุโรปและ วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์และวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ชนิดเดี่ยวขนาดปกติที่ใช้ทั่วไป โดยได้ทำการศึกษาการฉีดวัคซีนในประชากรหลายช่วงวัยได้แก่ วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ พบว่าวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์สูตรใหม่แบบลดขนาด (low-dose 2 microgram) ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคไอกรนได้สูงกว่าและภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นคงอยู่นานกว่าวัคซีนแบบรวม Tdap ที่ผลิตโดยบริษัทในยุโรปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะเดียวกันพบว่าวัคซีนสูตรใหม่แบบลดขนาดนี้มีผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนน้อยและไม่ต่างจากวัคซีนเปรียบเทียบ ทั้งยังมีความปลอดภัยในแม่และทารกแรกเกิด
ผลการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงการป้องกันโรคไอกรนโดยใช้วัคซีนสูตรใหม่แบบลดขนาด (low-dose 2 microgram) ของวัคซีนชนิดไร้เซลล์แบบรีคอมบิแนนท์ซึ่งเป็นผลผลิตในประเทศแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
– สตรีตั้งครรภ์ การให้วัคซีนไอกรนในสตรีขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเกิดโรคไอกรนในทารกแรกเกิดตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยให้มารดาได้สร้างภูมิคุ้มกันและส่งต่อภูมิคุ้มกันนี้ไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตมีภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนอย่างเพียงพอ
– กลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคเรื้อรังให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคแก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
– กลุ่มผู้ใหญ่ วัยรุ่น และวัยเรียน ซึ่งเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคในประเทศไทย เป็นกลุ่มที่พบการระบาดของไอกรนกลับมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้โรคไอกรนในวัยรุ่นจะไม่รุนแรงเหมือนในเด็กทารก แต่วัยรุ่นสามารถส่งต่อแพร่กระจายเชื้อให้คนในครอบครัวหรือชุมชนได้ ทั้งนี้ ในการป้องกันการระบาดคนในชุมชนอย่างน้อยร้อยละ 90 ต้องมีภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรน ดังนั้น การให้วัคซีนป้องกันไอกรนเข็มกระตุ้นในวัยรุ่น จึงมีความสำคัญโดยการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นไอกรนในวัยรุ่น 5 เข็ม ในช่วง 5 ขวบปีแรก อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันจะลดลง สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยจึงแนะนำให้วัยรุ่นรับวัคซีนเข็มกระตุ้นในช่วงอายุ 11-12 ปี จะเป็นชนิดวัคซีนรวม (โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก)
การที่มีวัคซีนไอกรนที่ผลิตในประเทศไทย และได้รับการอนุมัติรับรองขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาของไทย และในต่างประเทศ เป็นความสำเร็จที่อาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยคาดหวังว่าแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กไทยจะมีการขยายจากการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในเด็กวัย 11-12 ปี (ประถมศึกษาชั้นปีที่ 6) จากที่มีการให้วัคซีนกระตุ้นเฉพาะโรคคอตีบ โรคบาดทะยัก จะเพิ่มเป็นวัคซีนรวมโรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยักในอนาคตต่อไป
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 65 เวลา 14.00 16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
อบรมบุคลากรศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาฯ หลักสูตร “Mindset กับการสื่อสารเพื่องานบริการ”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้