รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 กันยายน 2562
ข่าวเด่น
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราในชีวิตประจำวัน ไม่มีใครอยากประสบอุบัติเหตุ ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่สะสมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การปลูกฝังให้นิสิตผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อนจะจบออกไปประกอบวิชาชีพในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการหรือห้อง Lab จำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 1,000 ห้อง ที่ผ่านมาจุฬาฯ ได้ดำเนินการด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการกำจัดสารเคมี ของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีมากว่า 20 ปี ปัจจุบันหน่วยงานในจุฬาฯ ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของคณะและหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ มีชื่อว่า “ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ศปอส.) จุฬาฯ (Center for Safty, Health and Environment of Chulaloingkorn University) ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมติสภามหาวิทยาลัย เมื่อปลายปี 2559 หลายคนอาจรู้จักศูนย์แห่งนี้ในชื่อ “SHE CU” หรือศูนย์ SHE ที่หลายคนคุ้นเคย
“ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ เป็นหน่วยงานระดับศูนย์ที่ทำหน้าที่ด้านระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นแห่งที่สามของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ต่อจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันกำลังจะมีศูนย์ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพันธกิจสำคัญที่มหาวิทยาลัยขาดไม่ได้
ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ เปิดเผยว่า เป้าหมายที่ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ พยายามสร้างก็คือทัศนคติที่ดีในเรื่องความปลอดภัย ทำให้เกิด “วัฒนธรรมความปลอดภัยในจุฬาฯ” ที่ผ่านมาศูนย์ SHE ได้จัดกิจกรรม Chula Safety 2019 เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับชาวจุฬาฯ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งในจุฬาฯ และหน่วยงานภายนอกร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวันที่ 29 – 30 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ ศาลาพระเกี้ยว
การทำงานของศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ทำงานวิชาการ และกลุ่มที่ดูแลเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย
กลุ่มที่ทำงานวิชาการ จะทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ “พื้นฐานความปลอดภัยทั่วไป” เนื้อหาการอบรมเกี่ยวข้องกับเรื่องพื้นฐานความปลอดภัย ทุกคนสามารถเรียนได้ เป็นการปรับพฤติกรรมและจิตสำนึกของคนในเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะในห้อง Lab เท่านั้น ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่จะต้องทำงานในห้อง Lab เคมี ชีววิทยา จะต้องผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากศูนย์ฯ ด้วยเช่นกัน โดยจะมีการเรียนผ่านทางระบบออนไลน์ ในขณะเดียวกัน จะมีหลักสูตรการอบรมเรื่องความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้นสำหรับนิสิตที่เรียนชั้นปีที่ 4 หรือระดับบัณฑิตศึกษา เปิดการอบรมตลอดทั้งปี รวมทั้งจัดการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับผู้บริหาร หัวหน้างานในห้อง Lab และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
ในส่วนของกลุ่มที่ดูแลด้านความปลอดภัย จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในด้านต่างๆ ครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นในด้านสารเคมี เชื้อโรค รังสี ฯลฯ นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังทำหน้าที่รับแจ้งเหตุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอันตรายและถอดบทเรียนออกมา นำไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดยมีระบบการแจ้งความไม่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการไปยังคณะและหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ด้วย
“การทำงานของศูนย์ฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ในห้อง Lab เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอาคารเรียน เช่น ระบบไฟฟ้า การเกิดไฟไหม้ แต่ไม่ใช่การเข้ามาระงับเหตุ เช่น ดับไฟที่ไหม้ สิ่งที่เราทำคือการทำแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ปัจจุบันเราทำแผนให้มหาวิทยาลัยเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินงานของศูนย์ SHE กว่า 3 ปีที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ จุฬาฯ มีแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐานทางกฎหมาย มีแผนงานด้านความปลอดภัย และการตรวจติดตามประเมินผล ซึ่งเตรียมประกาศใช้เร็วๆนี้ ในอนาคตทางศูนย์ฯ จะดำเนินการสำรวจจำนวนห้อง Lab ทั้งหมดในจุฬาฯ ว่ามีจำนวนเท่าใด ห้อง Lab แต่ละห้องมีความเสี่ยงในเรื่องใด ซึ่งเป็นภารกิจใหญ่ที่เจ้าของห้อง Lab จะต้องมีส่วนร่วมด้วย นอกจากนี้จะมีการขยายผลการดำเนินงานด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากส่วนกลางไปยังผู้ปฏิบัติในส่วนงานต่างๆ ให้มากขึ้น ปัจจุบันมีกรรมการความปลอดภัยจาก 23 ส่วนงานที่มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเข้าร่วมกิจกรรมกับศูนย์ฯ ซึ่งจะต้องเพิ่มจำนวนส่วนงานให้มากขึ้นในอนาคต” ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าว
ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าวเสริมว่า “ศูนย์ SHE มุ่งหวังความสำเร็จในเรื่อง Chula Safty เช่นเดียวกับโครงการ Chula Zero Waste ส่วนหนึ่งคือการดึงนิสิตเข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยจัดให้มี Chula Safety Ambassador เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้นิสิตจุฬาฯ ส่งต่อให้เพื่อนๆ นิสิตตระหนักว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องใกล้ตัว มองเห็นความเสี่ยงและเตรียมรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งในห้อง Lab ด้วย หากพบเห็นความไม่ปลอดภัยในห้อง Lab หรือห้องเรียน สามารถแจ้งมาได้ที่ศูนย์ SHE ซึ่งมีระบบที่พร้อมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ฐิตาภรณ์ เหลืองวิลัย และเอกราช สมบัติสวัสดิ์ นิสิตและบัณฑิตปริญญาเอกวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ผู้ทำหน้าที่ Chula Safety Ambassador กล่าวว่า การมีจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่มหาวิทยาลัย ที่บ้านหรือที่ทำงาน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การจัดการสารเคมีและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ถุงมือ ในห้อง Lab การเล่นโทรศัพท์มือถือหรือนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งต้องก้มตัว อาจทำให้ปวดหลังได้ หรือการเลือกใช้ปลั๊กไฟแบบปลั๊กพ่วง หากไม่ได้มาตรฐานก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ การสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นว่าเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องใกล้ตัว จะทำให้เกิดการปฏิบัติตามและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้
ช่องทางการติดต่อศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ มีทั้งทาง Facebook : SHECU2560 หรือทาง Line : Shecu.chula และทางเว็บไซต์ shecu@chula.ac.th โทร. 0-2218-5222 หรือ 09-9132-6622
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้