รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 ตุลาคม 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2562 ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ ศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีจุฬาฯ และนายปรมินทร์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการทดสอบแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ สำหรับการเพาะชำกล้าไม้ เพื่อทดแทนการใช้ถุงพลาสติก และต่อยอดการนำแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ หรือ zero-waste cup ที่ใช้แล้ว ซึ่งย่อยสลายได้ในดิน ไปใช้ทดสอบเพาะชำกล้าไม้ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และการกำจัดขยะในจุฬาฯ อย่างครบวงจร โดยมี ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) เป็นผู้กล่าวรายงาน
ศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอย จึงได้จัดโครงการ Chula Zero Waste เพื่อป้องกันหรือลดขยะตั้งแต่ต้นทางด้วยหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ทำให้ในปัจจุบันโรงอาหารภายในจุฬาฯ กว่า 17 แห่ง ได้เปลี่ยนมาใช้แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ หรือ zero–waste cup 100 % แก้วดังกล่าวสามารถย่อยสลายได้ทั้งหมดภายใน 4-6 เดือน ซึ่งนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดินได้ โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ หรือ PETROMAT จะร่วมมือกับกรมป่าไม้ในการขับเคลื่อนให้โครงการนี้เดินหน้าได้ต่อไป
นายปรมินทร์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นโดยมีความต้องการเพาะกล้าไม้คุณภาพดีปีละ 100 ล้านต้น ดังนั้นการนำแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพหรือ zero-waste cup ที่ผ่านการใช้งานแล้วจากจุฬาฯ มาทดสอบการย่อยสลายในดิน สำหรับนำไปใช้เพาะชำกล้าไม้แทนถุงพลาสติก จึงเป็นโครงการนำร่องที่ดี ความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ ในครั้งนี้มีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลดขยะพลาสติก และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้