รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 พฤศจิกายน 2562
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดกิจกรรมแนะนำวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของมณฑลเสฉวน เมื่อวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ณ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณกัว อี๋ซู ผู้แทนจากกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า “มณฑลเสฉวนเป็นดินแดนบ้านเกิดของแพนด้า ที่นี่มีวัฒนธรรมและทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปี มณฑลเสฉวนพร้อมต้อนรับการมาเยือนของทุกท่าน”
นอกจานี้ รศ.ดร.เมี่ยว หรง ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ดิฉันได้มีโอกาสใช้เวลาหนึ่งเดือนกว่าที่เสฉวน ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังตราตรึงใจอยู่ และหวังว่าแขกผู้มีเกียรติทุกคนจะได้เข้าใจวัฒนธรรมของเสฉวนได้มากขึ้นจากในกิจกรรมในวันนี้”
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแนะนำแหล่งท่องเที่ยวของมณฑลเสฉวนซึ่งอยู่บริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนมีเนื้อที่ประมาณ 485,000 ตารางกิโลเมตร กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ได้จัดอันดับให้มณฑลเสฉวนเป็น 1 ใน 10 อันดับเขตพื้นที่ของโลก ที่มีความหลากหลายทางระบบนิเวศ อีกทั้งนักพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติอย่าง Ernest Henry Wilson ได้ขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่าเป็น “มารดาแห่งสวนโลก” นอกจากนี้เสฉวนยังถูกขนานนามว่า เป็น “แดนสวรรค์แห่งความอุดมสมบูรณ์” ซึ่งมีทั้งความสวยงามทางวัฒนธรรม และธรรมชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 5 แห่ง ได้แก่
มรดกโลกแห่งที่ 1 เป็นที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์ สัตว์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ มีพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทั่วโลกมีแพนด้า 1,600 ตัว ซึ่งเฉพาะที่มณฑลเสฉวนมีแพนด้าอาศัยอยู่ 1,360 ตัว
มรดกโลกแห่งที่ 2 จิ่วจ้ายโกว (หุบเขาเก้าหมู่บ้าน) ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติที่หลายคนมักขนานนามว่า “ดินแดงแห่งเทพนิยาย”
มรดกโลกแห่งที่ 3 คือ อุทยานแห่งชาติฮวางหลง (World Natural Heritage Huanglong) หรือที่รู้จักกันดีชื่อ อุทยานธารน้ำมังกรเหลือง
มรดกโลกแห่งที่ 4 เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม คือ ภูเขาเอ๋อเหมยและพระพุทธรูปใหญ่เล่อซาน (World Cultural and Natural Heritage Mount Emei and Leshan Giant Buddha)
มรดกโลกแห่งที่ 5 เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม คือ ตูเจียงเยี่ยน-ภูเขาชิงเฉิงสำหรับตูเจียงเยี่ยน ซึ่งนักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน Ferdinand von Richthofen ได้บันทึกการเดินทางในประเทศจีนไว้ว่า “ความสมบูรณ์แบบของการชลประทานที่ ตูเจียงเยี่ยน ไม่มีสิ่งใดในโลกมาเทียบได้” อีกทั้งภูเขาชิงเฉิงเป็นแหล่งกำเนิดลัทธิเต๋า มีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของมณฑลเสฉวน ได้แก่ การแสดงผีผา การแสดงเปลี่ยนหน้า การบอกเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มณฑลเสฉวน และการชิมอาหารเสฉวนด้วย
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้