รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 พฤศจิกายน 2562
ข่าวเด่น
คณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติให้ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2563 ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2563 ดังนี้
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563
คณาจารย์จุฬาฯ ได้รางวัลจำนวน 3 ท่าน จาก 9 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ (สาขาปรัชญา) และ รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี คณะครุศาสตร์ (สาขาการศึกษา)
รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2563
คณาจารย์จุฬาฯ ได้รางวัลจำนวน 7 ผลงาน จาก 41 ผลงานใน 12 สาขาวิชา ดังนี้
รางวัลระดับดีมาก จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
– ผศ.ดร.น.สพ.เดชฤทธิ์ นิลอุบล และคณะ ผลงานเรื่อง “ไขรหัสลับการติดเชื้อร่วมระหว่างเชื้อไวรัสพอร์ซายด์เดลต้าโคโรน่าและเชื้อไวรัสพีอีดี เพื่อแก้ไขปัญหาอาการท้องเสียที่เกิดจากโรคท้องเสียรุนแรงเนื่องจากภาวะลำไส้อักเสบแบบเรื้อรังจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในสุกร และการพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจสอบอีไลซ่าเพื่อใช้ในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
– ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ ผลงานเรื่อง “แนวทางการปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและวิเคราะห์การกระจายรายได้ของผู้มีเงินได้พึงประเมิน” (สาขาเศรษฐศาสตร์)
– รศ.ดร.จุลนี เทียนไทย ผลงานเรื่อง “ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในมุมมองของนักมานุษยวิทยา” (สาขาสังคมวิทยา)
รางวัลระดับดี จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
– รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และคณะ ผลงานเรื่อง “ศักยภาพของโปรตีนออสทีโอพอนทินที่ผลิตจากพืชเพื่อใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
– รศ.ดร.วุฒิชัย เอื้อวิทยาศุภร และคณะ ผลงานเรื่อง “วัสดุลูกผสมซิลเซสควิออกเซน: โมเลกุลติดฟังก์ชันเรืองแสงสำหรับตัวรับรู้” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
– ดร.วรพนธ์ ชัยกีรติศักดิ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “จากจุดกำเนิดนิวเคลียสสู่การพัฒนาเฟจฆ่าเชื้อดื้อยา” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
– รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ ผลงานเรื่อง “การจัดทำเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำ การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2563
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 6 ผลงาน จาก 47 เรื่อง ใน 12 สาขาวิชา มีดังนี้
รางวัลระดับดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
– ดร.สิรเศรษฐ ปัณฑุรอัมพร วิทยานิพนธ์เรื่อง “ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.วีรชาติ เปรมานนท์
รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
– ผศ.ดร.พีรยา บุญประสงค์ วิทยานิพนธ์เรื่อง “กระบวนการการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยในตึกแถว: กรณีศึกษาตึกแถวบริเวณท่าเตียน กรุงเทพฯ” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ. ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ
– ดร.พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ วิทยานิพนธ์เรื่อง “ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : ศ.ดร.วีรชาติ เปรมานนท์
– ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ วิทยานิพนธ์เรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล
– ดร.พสุ เรืองปัญญาโรจน์ วิทยานิพนธ์เรื่อง “นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหวจากแนวคิดทุนวัฒนธรรมไทยที่เคลื่อนไหวได้” (สาขาสังคมวิทยา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล
– ดร.สุกัญญา บุญศรี วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม” (สาขาการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : รศ.ดร.กมลวรรณ ตังธนกานนท์
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2563
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 12 ผลงาน จากทั้ง 51 ผลงานใน 9 สาขาวิชา มีดังนี้
– ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และคณะ ผลงานเรื่อง “ข้อสะโพกเทียมชนิดมอดูล่ายูนิโพล่าที่เหมาะสมกับกายวิภาคศาสตร์ของคนไทย” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
– ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ฐานกระดาษร่วมกับเทคนิคการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดระดับเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสที่บ่งชี้ถึงระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดแมลงในเลือด” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
– ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ และคณะ ผลงานเรื่อง “ตัวรับรู้เชิงสีบนสิ่งทอแบบไม่เจาะผ่านผิวหนังสำหรับบ่งชี้ภาวะสุขภาพ” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
รางวัลระดับดี จำนวน 9 รางวัล ได้แก่
– รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ และคณะ ผลงานเรื่อง “การปิดรยางค์หัวใจหัวบนซ้ายด้วยอุปกรณ์โอเมก้า- LAA Occluder Device เพื่อป้องกันอัมพาตในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดห้องบนพลิ้วที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
– ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ ผลงานเรื่อง “การตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับสมาร์ตโฟนสำหรับตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสตับอักเสบบี” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
– ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ ผลงานเรื่อง “ชุดทอดสอบอิมมูโนโครมาโทกราฟีแบบแข่งขันร่วมกับระบบขยายสัญญาณด้วยซิลเวอร์สำหรับตรวจวัดปริมาณคอร์ติซอลในน้ำลาย” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
– รศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล และคณะ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน” (สาขาปรัชญา)
– รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ และคณะ ผลงานเรื่อง “SUK.tool: นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยเครื่องมือเล่าเรื่องดิจิทัล” (สาขาการศึกษา)
– รศ.ดร.จินตวีย์ คล้ายสังข์ และคณะ ผลงานเรื่อง “CU Deep Smart Tool Kit: เรียนรู้โลกกว้างอย่างสร้างสรรค์ผ่านเลนส์” (สาขาการศึกษา)
– รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ และคณะ ผลงานเรื่อง “Smart Gaml & Smart Sensor: ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21” (สาขาการศึกษา)
– รศ.ดร.จินตวีย์ คล้ายสังข์ และคณะ ผลงานเรื่อง “iChat Smart: อุปกรณ์เทคโนโลยีสวมใส่เพื่อการติดตามการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเกมมิฟิเคชันสำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล” (สาขาการศึกษา)
– ศ.ดร.จินตนา สรายุทธพิทักษ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “ฟ.ฟันแข็งแรง: ชุดสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมการรักษาสุขภาพช่องปากด้วยสมาร์ตโฟนเอ็นโดไมรสโคป” (สาขาการศึกษา)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้