รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 พฤศจิกายน 2562
ข่าวเด่น
อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุสำคัญลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิต แม้ว่าจะมีการรณรงค์และมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วนอย่างจริงจังในเรื่องนี้ แต่จำนวนอุบัติเหตุและอัตราการเสียชีวิตบน ท้องถนนของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูงมาก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2560 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงถึง 22,491 ราย มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก และอันดับที่ 1 ในเอเชีย คิดเป็นค่าเฉลี่ยคือมีผู้เสียชีวิตวันละ 60 ราย และยังพบว่าอุบัติเหตุกว่า 50% เกิดขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่ง 90% กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เพียง 5% ของทั้งกรุงเทพฯ การลดจำนวนอุบัติเหตุลงเป็นเป้าหมายที่ทุกภาคส่วนมุ่งหวังให้เกิดขึ้น
จากการสัมมนา “ITIC FORUM 2019: Big Data and AI for Safer Roads” ซึ่งมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ โดยมีนายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย และประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมงานสัมมนา เพื่อเผยแพร่ผลที่ได้จากโครงการวิจัยและพัฒนาข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน รวมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อให้เกิดความตระหนักและตื่นตัว ตลอดจนนำผลที่ได้ไปเสนอภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาต่อไป การสัมมนาครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนที่ประสบความสำเร็จในการลดจำนวนอุบัติเหตุในเขตไอจิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจาก 10,000 ราย เหลือเพียง 5,000 ราย ในปี 2553 และเหลือเพียง 3,500 ราย ในปี 2561 ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่จะนำมาปรับใช้กับประเทศไทยต่อไป
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information Center Foundation หรือ ITIC) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งโดยนักวิชาการและนักอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2553 เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลจราจรจากภาครัฐและภาคเอกชนมาประมวลผลและเผยแพร่สู่สาธารณะแบบ Real-time โดยประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ฟรี ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของ ITIC เพื่อใช้วางแผนการเดินทาง หลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยข้อมูลแจ้งเตือนอันตรายหรืออุบัติเหตุทางถนน ซึ่งความสำเร็จตลอด 9 ปีที่ผ่านมาเกิดจากความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
“โครงการวิจัยและพัฒนาข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน “Big Data and AI for Safer Roads” เป็นการแบ่งปันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ สามารถนำมาประมวลผล และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุบนท้องถนน เพื่อนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสำคัญของประเทศชาติอย่างยั่งยืนได้
โครงการฯ นี้ได้ใช้ฐานข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากระบบการจัดเก็บข้อมูล 3 ฐาน คือกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติและบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมกับข้อมูลของ ITIC และกรมทางหลวง โดยใส่ข้อมูลอุบัติเหตุดังกล่าวทั้งหมดลงบนแผนที่ดิจิทัล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง วัน เวลา ตลอดจนสถานที่เสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในอนาคต หัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือการนำเอาเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุในอดีตและสร้างระบบพยากรณ์อุบัติเหตุล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ซึ่งจากการทดลองกับข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในอดีต พบว่าระบบดังกล่าวมีความแม่นยำมากถึง 80% และยังพบข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่น่าสนใจ
ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.iticfoundation.org
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้