รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 ธันวาคม 2562
ภาพข่าว
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562 ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการพื้นที่ทดสอบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านพลังงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ระบบซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer–to–Peer (P2P: การซื้อขายโดยตรง) และอาคารอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนวิถีชีวิตเมืองมหานครอัจฉริยะ เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน และรถยนต์ไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การไฟฟ้านครหลวง และบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศให้รองรับกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเติบโตของการผลิตพลังงานทดแทนในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเน้นที่ด้าน Smart Energy ซึ่งเป็นหนึ่งใน Chula Smart Campus เป็นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะที่ประกอบด้วยการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P และอาคารอัจฉริยะ พร้อมทั้งจะทำการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ในระบบผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายแบบ P2P เพื่อศึกษาผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าในประเด็นต่างๆ ทั้งการวิเคราะห์กลไกตลาด การออกแบบสัญญาอัจฉริยะ สำหรับการซื้อขายไฟฟ้าและการออกแบบอัตราค่าผ่านทางที่เหมาะสมกับการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P โดยคาดหวังว่าผลการศึกษาดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาประเทศในมิติทางด้านพลังงานและเพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตัวอย่างหนึ่งของต้นแบบเมืองอัจฉริยะทางด้านพลังงานต่อไป
นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า กฟน. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันศึกษาและพัฒนาระบบซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P และอาคารอัจฉริยะในพื้นที่การศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นพื้นที่สำคัญ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในระดับสูง มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือ Solar Rooftop ประมาณ 20 เมกะวัตต์ โดย กฟน. มีหน้าที่ในการออกแบบติดตั้ง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบจำหน่ายไฟฟ้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สามารถรองรับการทดลองซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P รวมทั้งดูแลและควบคุมผลกระทบที่เกิดจากการซื้อขายไฟฟ้าให้อยู่ในวงจำกัด ไม่กระทบต่อโครงข่ายองระบบจำหน่ายไฟฟ้าในภาพรวม โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีระยะเวลา 3 ปี
นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า บริษัทพร้อมที่จะนำ Trading Platform ที่บริษัทได้พัฒนาขึ้นมาใช้ทดสอบซื้อขายพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ ณ สถานที่จริงเป็นครั้งแรก พื้นที่ที่ทดสอบในโครงการนี้จะพัฒนาเป็นอาคารอัจฉริยะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีความเหมาะสมและความพร้อมสูง สำหรับระบบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้านี้ ใช้ชื่อว่า Gideon ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานที่ลูกค้าสามารถซื้อพลังงานจากผู้ผลิตได้โดยตรง มี AI ช่วยในการทำนายและเทรดได้แบบอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยี BlockChain เข้ามาจัดการ จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูง บริษัทมีแผนจะทำการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ระบบกักเก็บพลังงาน สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ให้เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านพลังงาน ตามเจตนารมณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลสำเร็จจากโครงการนี้จะนำไปสู่การมีระบบการผลิตจำหน่ายและใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้