รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 ธันวาคม 2562
ข่าวเด่น
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลก หรือ UI Green Metric World University Ranking 2019 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับที่ 84 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัยไทย โดยได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการจัดการพลังงาน ด้านการจัดการขยะ และด้านการเรียนการสอนและการวิจัย
สำหรับปีนี้มีมหาวิทยาลัย 780 แห่งทั่วโลก ที่เข้าร่วมการจัดอันดับ และมีมหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมทั้งสิ้น 37 แห่ง ในภาพรวมอันดับของมหาวิทยาลัยไทย โดยเฉพาะสามอันดับแรกคือมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลคะแนนและอันดับที่ขยับขึ้นจากปีก่อน
ทั้งนี้ Green Metric World University Ranking มีเกณฑ์ชี้วัดแบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ 1) Setting and Infrastructure (การจัดการพื้นที่ในมหาวิทยาลัย เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่ซึมซับน้ำ) คิดเป็น 15% ของคะแนน 2) Energy and Climate Change (การจัดการพลังงาน รวมไปถึงเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ Carbon Footprint องค์กร) คิดเป็น 21% 3) Waste Management (การจัดการขยะ) คิดเป็น 18% 4) Water Management (การจัดการน้ำ) คิดเป็น 10% 5) Transportation (การขนส่ง) คิดเป็น 18% และ 6) Education and Research (การเรียนการสอน การวิจัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) คิดเป็น 18 %
กอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การที่จุฬาฯ ได้ผลคะแนนเป็นอันดับ 1 ใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการจัดการพลังงาน ด้านการจัดการขยะ และด้านการเรียนการสอนและการวิจัย เป็นผลมาจากความสำเร็จในการดำเนินการด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการจัดการขยะ จุฬาฯ มี โครงการ Chula Zero Waste ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการยกระดับการจัดการขยะในมหาวิทยาลัยและสร้างความตระหนักให้แก่ประชาคมจุฬาฯและสังคมภายนอก ส่วนด้านการจัดการพลังงาน สิ่งที่จุฬาฯ เน้นคือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน มีโครงการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง และโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ซึ่งมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งเรียบร้อยแล้วทั้งมหาวิทยาลัย และทยอยดำเนินการ โดยในปีนี้กำลังติดตั้งที่อาคารจามจุรี 9 ส่วนเรื่องของการศึกษาและวิจัย จุฬาฯ มีกองทุนวิจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในหลากหลายมิติ อีกทั้งมีการประเมิน Carbon Footprint และจัดทำรายงานความยั่งยืน หรือ Sustainable Report ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คะแนนของจุฬาฯ เพิ่มมากขึ้น
หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ กล่าวว่า ในด้านการจัดการพื้นที่ในมหาวิทยาลัย (Setting and Infrastructure) จุฬาฯ ค่อนข้างเสียเปรียบเพราะเป็นมหาวิทยาลัยใจกลางเมืองที่มีอาคารจำนวนมากว่า 200 อาคาร รองรับกิจกรรมการเรียนการสอนการวิจัยของนิสิตบุคลากรมากกว่า 45,000 คน ซึ่งทำให้ จุฬาฯ มีข้อจำกัดอย่างมากในการเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียว แต่เราพยายามเพิ่มคุณภาพของพื้นที่สีเขียวให้คนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หรือในด้านการจัดการน้ำ (Water Management) จุฬาฯ ก็มีข้อจำกัดด้วยเรื่องของพื้นที่เช่นกัน ทำให้เราจำเป็นต้องใช้น้ำประปาและไม่สามารถสร้างบ่อสำหรับเก็บกักน้ำฝนหรือระบบบำบัดน้ำเสียรวมขนาดใหญ่เพื่อหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ยังคงต้องใช้ระบบบำบัดน้ำเสียภายในแต่ละอาคารเป็นหลัก “เรื่องระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ทำได้ดีจากการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยเรามีอาคารจอดรถสี่มุมเมือง ช่วยลดการจราจรและมลภาวะทางอากาศ รวมทั้งมีทางเลือกการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น รถโดยสารภายในจุฬาฯ (Chula Pop Bus) ซึ่งเป็นรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด หรือการส่งเสริมให้คนเดินเท้าด้วยการทำทางเดินมีหลังคาคลุม และมีโครงข่ายการสัญจรที่จุฬาฯ ทำไว้ทั้ง CU Bike , CU Toyota Ha:mo และ Muvmi” กอปร กล่าว
แม้จะมีข้อจำกัดทางด้านกายภาพและพื้นที่ แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงไม่หยุดที่จะพัฒนาเพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนต่อไป สิ่งที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต จุฬาฯ จะให้ความสำคัญกับในเรื่องของคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วม (Engagement) ของคนในจุฬาฯ และชุมชนรอบๆ ให้มากขึ้น เน้นการสร้างจิตสำนึกของคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิต เช่น โครงการ Chula Zero Waste ที่มีการบริหารจัดการขยะในภาพรวมของมหาวิทยาลัย และลงไปถึงพฤติกรรมของนิสิตด้วย ทั้งนี้เรื่องของมหาวิทยาลัยสีเขียวหรือมหาวิทยาลัยยั่งยืนไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่เรื่องกายภาพอย่างเดียว แต่ควรขยายไปยังเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ และอื่นๆ ที่ครอบคลุมบริบทของความยั่งยืนด้วยเช่นกัน
“การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว โดย UI Green Metric ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้เราได้เห็นมาตรฐาน (benchmark) เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีต และเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วย แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือการทำให้ทุกคนตระหนักและร่วมมือกันทำให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน” กอปร กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวประจำปี 2019 ได้ที่ https://greenmetric.ui.ac.id/
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้