รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 มกราคม 2563
ข่าวเด่น
สภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี จุฬาฯ ปี 2563 – 2567 ในนาม “สภาคณาจารย์” เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุม 101 อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รับฟังมุมมองวิสัยทัศน์จากผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ พ.ศ.2563 – 2567 โดยเรียงลำดับจากการจับฉลากเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ดังนี้
รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ นำเสนอนโยบายโดยเน้นเรื่องการแก้ไขระบบพื้นฐานในการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ มุ่งสร้างคุณค่า (Value) ส่งผลกระทบ (Impact) ผ่านความหลากหลาย (Diversity) ของศาสตร์สาขาต่างๆ ในจุฬาฯ และการทำงานผสานพลัง (Synergy) โดยเชื่อมโยงการเรียนข้ามศาสตร์ สร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม นิสิตเมื่อจบแล้วต้องพร้อมทำงาน มีความเป็นนานาชาติและต้องเรียนรู้ในภูมิภาคเอเชียนและภูมิภาคอื่นๆ ด้วย ปรับปรุงระบบการบริหารงานวิจัย กำหนดเป้าที่ชัดเจนในการบูรณาการศาสตร์ด้านงานวิจัย เชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ภูมิภาค ดึงนิสิตเก่าให้เข้ามามีส่วนร่วมในองค์กร พัฒนาอาจารย์ที่มีความโดดเด่นให้ได้รางวัลระดับนานาชาติ เพิ่มศักยภาพของบุคลากรและดูแลสุขภาวะทั้งกายใจ
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ กล่าวว่า จุฬาฯ ต้องก้าวสู่การเป็น Globalization สร้างจุฬาฯ ให้เป็น Thailand Global University และเพิ่มอันดับของจุฬาฯ ก้าวสู่ 100 อันดับแรกของโลก ปรับระบบการบริหารจัดการองค์กร สร้างระบบบูรณาการในศาสตร์สาขาต่างๆ การสร้างบัณฑิตที่มีทักษะและตอบโจทย์สังคมโลก สร้างจิตสาธารณะให้บัณฑิตออกไปช่วยเหลือสังคม สร้างระบบการเรียนรู้ทั้งระดับ Degree และ Non-Degree เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการสร้างงานวิจัยและการให้ทุนวิจัยในศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น บุคลากรต้องมีความสุขกายและสุขใจ มีบริการทางสุขภาพที่ทำให้บุคลากรอยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข รวมทั้งมีการจัดสรรทรัพยากรด้านต่างๆ ให้คุ้มค่ากับเป้าหมายขององค์กร
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ กล่าวถึงบทบาทของจุฬาฯว่า จะต้องตอบโจทย์และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม จะผลักดันการปรับเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ ในส่วนของบุคลากร จะให้สิทธิในการให้บุตรของบุคลากร P7C เข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้ พัฒนาการให้บริการด้านสุขภาพของจุฬาฯ การดูแลพนักงานหลังเกษียณ สำหรับนิสิตจะสร้างความสะดวกสบายให้นิสิตและสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน ต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมให้เห็นผลในระดับประเทศและอาเซียน ทุกคณะและหน่วยงานในจุฬาฯ ต้องดำเนินงานที่ส่งผลต่อสังคมด้วยหลัก 4 ประการคือ สร้างคน สร้างความแข็งแกร่งให้จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัย สร้างสรรค์สังคม และต้องขับเคลื่อนจุฬาฯ ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พร้อมเดินหน้าต่อทันทีจากสิ่งที่เริ่มต้นไว้แล้ว และปรับแก้ไขปัญหาจากเงื่อนไขและข้อมูลจริงโดยผ่าน 4 หมุดหมายใหม่ข้างต้น
รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา กล่าวว่า จุฬาฯ ต้องดูภาพรวมของทิศทางโลก แผนยุทธศาสตร์ 15 ปีของจุฬาฯ เน้นเรื่องคน งาน และเงินที่สัมพันธ์กัน ต้องสร้างดุลยภาพของความเป็นอิสระและการกำกับดูแล สร้างความสมดุลให้แต่ละคณะและส่วนงานสามารถสร้างผลงานโดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง จุฬาฯ ต้องพัฒนาไปพร้อมกันทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพ เทคโนโลยี และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในส่วนของ KPI ต้องมีการรับฟังจากทุกภาคส่วน มี International College ดูแลด้านนานาชาติในภาพรวม มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอนและสร้างความหยืดหยุ่นทั้งสาขาวิชาและการเรียนในระดับต่างๆ ได้ทั้งปริญญาตรี โท เอก เน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และงานวิจัยไปสู่วงกว้าง สร้างประโยชน์ต่อสังคม
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ปี 2025 “อำลาปีมะโรง ต้อนรับปีมะเส็ง”
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2568 กับงานวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและยุโรปศึกษา
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
เสวนา “พหุสังคมในคลองตะเคียน ร้อยเรียงวัฒนธรรมสู่การพัฒนาชุมชน”
PMCU ชวนน้อง ๆ นิสิต นักศึกษาส่งผลงานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “Chula For All” พื้นที่สำหรับทุกคน
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้