ข่าวสารจุฬาฯ

แนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ coronavirus (2019-nCoV) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2)

จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ที่พบกรณีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยแล้วนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความห่วงใยในสถานการณ์ดังกล่าวและผลกระทบต่อสมาชิกในประชาคม จึงขอแจ้งเตือนและขอความร่วมมือเพื่อช่วยในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคเพิ่มเติมจากประกาศฉบับที่ 1 ดังนี้

  1. นิสิต คณาจารย์และบุคลากรควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงของการระบาดของไวรัส 2019-nCoV และหลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ที่ป่วย หรือตาย ตลอดจนหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี
  2. นิสิต คณาจารย์และบุคลากรที่เดินทางกลับมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงของการระบาดของไวรัส 2019-nCoV ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ขอให้ท่านลาหยุดอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าสังเกตอาการและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไปสู่ผู้อื่น ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะไม่ถือเป็นวันลาหรือการขาดเรียน (ดังประกาศแนบท้ายนี้) ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องให้หยุดเรียนหรือหยุดงาน ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาระบาด

ผู้ที่ต้องการลาหยุดสามารถกรอกแบบฟอร์มออนไลน์เพื่อขออนุญาตลาหยุดเป็นกรณีพิเศษและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังโรคได้ลิ้งก์ต่อไปนี้ (แบบฟอร์มการลา) ในระหว่างนั้น หากพบว่า มีอาการไข้ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ สมาชิกของประชาคมจุฬาฯสามารถรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังอาการจากการติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV จากศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่เบอร์ 080-441-9041

  1. สำหรับนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรที่ไม่ได้เดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่มีการสัมผัสหรือสงสัยว่ามีการสัมผัสกับผู้ที่อาจจะติดเชื้อ รวมทั้งอยู่ในพื้นที่หรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ โดยไม่มีการป้องกันตัวเพียงพอ ขอให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีอาการป่วย สามารถลาหยุดงานและหยุดเรียนได้ภายใต้เงื่อนไขตามข้อ 2.โดยใช้แบบฟอร์มการลาเดียวกัน
  2. หากนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรพบเห็นผู้มีอาการที่สงสัยว่าจะไม่สบายในลักษณะการติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV ควรแนะนำให้ปฏิบัติตามข้อ 2. หรือ 3. ขณะเดียวกัน เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้มีความอ่อนไหวสูง จึงควรปฏิบัติต่อผู้นั้นด้วยมารยาทที่ดี ระมัดระวังการใช้คำพูดหรือการแสดงออกในลักษณะแบ่งแยกหรือรังเกียจ เพื่อแสดงถึงการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

ในขณะนี้ มีนิสิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีนศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวม 172 คน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มีการสื่อสารตรงกับนิสิตกลุ่มนี้เป็นระยะๆ ผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์กลุ่มและอีเมลเพื่อแจ้งแนวทางในการปฏิบัติตัวและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค และได้รับความร่วมมือที่ดีมาโดยตลอด

ทั้งนี้ ขอให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรติดตามสถานการณ์โดยไม่ตื่นตระหนก และรอฟังประกาศจากมหาวิทยาลัยต่อไป มหาวิทยาลัยขอขอบคุณในความร่วมมือและความเข้าใจของทุกท่านมา ณ ที่นี้

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า