ข่าวสารจุฬาฯ

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดใหม่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นผลงานการสร้างสรรค์และริเริ่มโดยนายเสริมสิน สมะลาภา นิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมด้วย รศ. ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ คณบดี ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยอธิการบดี และ น.ส.ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ นายชัยภัฏ มีระเสน สถาปนิกจาก Department of Architecture ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 หมวด Library : Best of Year Awards 2019 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์การประชุมเจคอบ เค. จาวิตส์ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ห้องสมุดใหม่สถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2562 โดยสร้างขึ้นจากเงินบริจาคของนิสิตเก่า จุดเด่นคือ เป็นห้องสมุดที่มีพื้นที่การใช้สอยอันหลากหลาย เช่น พื้นที่ Co-Working Space การนั่งทำงานกลุ่ม พื้นที่ดูภาพยนตร์ พื้นที่ฟังการบรรยาย พื้นที่จัดนิทรรศการ ฯลฯ และที่สำคัญคือ งานโครงสร้างที่ชวนให้ตื่นตา สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์
คุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ สถาปนิกประจำ Department of Architecture และนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เล่าถึงโจทย์ท้าทายที่ต้องทำให้ห้องสมุดคณะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งว่า
การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากอินเทอร์เน็ตสร้างความแตกต่างในการใช้ห้องสมุด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราได้รับข้อมูลและความรู้

ห้องสมุดในทุกวันนี้อาจยังคงมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ แต่วิธีการอาจจะแตกต่างกัน เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นที่การเรียนรู้ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยไม่เพียงแต่เป็นสถานที่อ่านหนังสือแต่ยังเป็นเครื่องบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์สำหรับนิสิต ห้องสมุดใหม่จึงเป็นที่รวมเอาพื้นที่นิทรรศการ และพื้นที่การพูดแลกเปลี่ยนความคิด ไม่เพียงแต่สำหรับหนังสือเป็นเล่มๆ เท่านั้นที่สามารถเป็นแหล่งที่มาของความรู้และแรงบันดาลใจ แต่ยังรวมถึงสื่อดิจิตอล ภาพยนตร์ และระบบกริด 3DS ที่รายล้อมพื้นที่ทำงานร่วมกันเพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับนิสิตที่จะสร้างนิทรรศการหรือกิจกรรมต่างๆ แบบแขวนหรือใช้เพื่อทำอะไรก็ได้ เหมือนเป็นสนามทดลองให้กับนิสิต โดยเป็นแรงบันดาลใจสำหรับทุกคนที่ผ่านไปสามารถหยุดเพื่อเข้าร่วมชมนิทรรศการได้

นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ที่เงียบสงบสำหรับผู้ที่ต้องการสมาธิ มีการจัดเรียงโต๊ะอ่านหนังสือเป็นเขาวงกต โครงสร้างเพื่อลดการรบกวนผู้อื่นที่เดินไปมา
ที่ชั้นบนสุดเป็นพื้นที่อ่านหนังสือที่สามารถเปลี่ยนเป็นหอประชุมสำหรับการบรรยายเป็นครั้งคราวหรือฉายภาพยนตร์ที่เป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจอีกด้วย บรรยากาศที่แตกต่างกันและประเภทของที่นั่งที่ช่วยให้นิสิตสามารถที่จะเลือกนั่งได้ตามความชอบ สามารถหันหน้าไปทางโต๊ะที่มองเห็นพื้นที่ที่เงียบสงบด้านนอก เลือกนั่งบนโต๊ะต่ำหรือพื้นที่โซฟาแม้กระทั่งบนพื้นก็สามารถนั่งได้ นิสิตที่ต้องทำงานทั้งคืนยังสามารถพักผ่อนบนที่นอนชั้นลอยเพื่อฟื้นฟูตัวเองก่อนเข้าเรียนต่อไป

พื้นที่บนเพดานชั้นบนสุดเป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยจัดแสดงแผนที่โครงการที่สําคัญทั้ง 9 โครงการของพระองค์ซึ่งมีอิทธิพลต่อผังเมืองของกรุงเทพมหานคร ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาปัญหาการจราจรน้ำท่วมและมลพิษทางน้ำ ฯลฯ

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ คว้ารางวัลระดับโลก

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า