รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กุมภาพันธ์ 2563
ภาพข่าว
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาวัสดุ Advanced Materials ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ (3D Printing Technology) สำหรับเป็นฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการังและการปลูกปะการังธรรมชาติ สร้างต้นแบบปะการังเทียมรุ่นใหม่ที่มีความเสมือนจริง และใกล้เคียงธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีขึ้นรูปจาก Advanced Materials ที่เอสซีจี ซิเมนต์ พัฒนาขึ้น สามารถใช้เศษคอนกรีตรีไซเคิลเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูนถึง 40% โดยความร่วมมือครั้งนี้ครอบคลุมการศึกษา วิจัย และพัฒนาออกแบบรูปแบบวัสดุให้มีความเหมาะสมตามแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการังและทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ขยายภาพโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา…สู่มหานที” คืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เตรียมนำร่องทดลองจัดวางจริงในทะเล 3 พื้นที่ ได้แก่ เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ภายในเดือนพฤษภาคม 2563
ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งนั้นเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านของการบริหารจัดการที่เหมาะสม สำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการัง สามารถดำเนินการได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการฟื้นฟูปะการังที่ดำเนินการกับแนวปะการังโดยตรงด้วยการฟื้นฟูทางกายภาพ (Physical Restoration) เช่น การสร้างฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง หรือการสร้างปะการังเทียม ซึ่งเป็นการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของปะการัง ทำให้แนวปะการังกลับมามีสภาพความอุดมสมบูรณ์และสามารถเอื้อประโยชน์ในแง่ต่างๆ ให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเลรวมไปถึงมนุษย์ ซึ่งการคิดค้นและพัฒนารูปแบบวัสดุเพื่อใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการัง ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3D Printing จึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้การสนับสนุนด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปะการัง พร้อมทั้งติดตามและรวบรวมข้อมูลผลการทดลองเพื่อศึกษา วิจัย และนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนการพัฒนารูปแบบวัสดุให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้นในอนาคต
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้