ข่าวสารจุฬาฯ

คณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ คว้า 30 รางวัล จากสภาวิจัยแห่งชาติ ปี 2563

          คณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ  ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ปี 2563  ถึง 30 รางวัล ทั้งรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น     พิธีมอบรางวัลในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำ 2562”  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมมอบรางวัล โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม จุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดีและมอบของที่ระลึกแก่คณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ที่ได้รับรางวัล ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 3 รางวัลจากทั้งหมด  9 รางวัล รางวัลผลงานวิจัย 7 รางวัล รางวัลวิทยานิพนธ์ 8 รางวัล รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น 12 รางวัล ดังนี้

– รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 3 รางวัลจากทั้งหมด 9 รางวัล ได้แก่ได้แก่ ศ.ดร.สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์ (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ สถาบันเอเชียศึกษา (สาขาปรัชญา) และ รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี คณะครุศาสตร์ (สาขาการศึกษา)

– รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 7 รางวัล ได้แก่

  1. ผศ.ดร.นสพ.เดชฤทธิ์ นิลอุบล และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากผลงานวิจัยเรื่อง “ไขรหัสลับการติดเชื้อร่วมระหว่างเชื้อไวรัสพอร์ซายด์เดลต้าโคโรน่าและเชื้อไวรัสพีอีดี เพื่อแก้ไขปัญหาอาการท้องเสียที่เกิดจากโรคท้องเสียรุนแรงเนื่องจากภาวะลำไส้อักเสบแบบเรื้อรังจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในสุกร และการพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจสอบอีไลซ่าเพื่อใช้ในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค”
  2. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ จากคณะเศรษฐศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและวิเคราะห์การกระจายรายได้ของผู้มีเงินได้พึงประเมิน”
  3. รศ.ดร.จุลนี เทียนไทย คณะรัฐศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาสังคมวิทยาจากผลงานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในมุมมองของนักมานุษยวิทยา”
  4. รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และคณะ จากคณะเภสัชศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของโปรตีนออสทีโอพอนทินที่ผลิตจากพืชเพื่อใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก”
  5. ดร.วรพนธ์ ชัยกีรติศักดิ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาจากผลงานวิจัยเรื่อง “จากจุดกำเนิดนิวเคลียสสู่การพัฒนาเฟจฆ่าเชื้อดื้อยา”
  6. รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ จากคณะรัฐศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “การจัดทำเกณฑ์ชี้วัดและค่าเป้าหมายขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
  7. ผศ.ดร.ปิยพงษ์ เชนร้าย และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง “การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้เสมือนจริงสำหรับห้องเรียนธรณีวิทยา”

          – รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 8 รางวัล ได้แก่

  1. ดร.สิรเศรษฐ ปัณฑุรอัมพร คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีเด่นสาขาปรัชญา จากผลงานวิจัยเรื่อง “ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: มิติเสียงสังเคราะห์แห่งวงซิมโฟนี”
  2. ดร.นพัต จันทรวิสูตร คณะแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์  จากผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาลักษณะสมบัติของวิถีสัญญาณเอ็มทอร์ในมะเร็งสมองชนิดกลัยโอ  บลาสโตมา”
  3. ดร.รงรอง เจียเจริญ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาการเสื่อมสภาพ และการเพิ่มเสถียรภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ขึ้นรูปจากสารละลายทั้งชนิดสารอินทรีย์และชนิดเพอรอฟสไกต์”
  4. ผศ.ดร.พีรยา บุญประสงค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาปรัชญา จากผลงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยในตึกแถว: กรณีศึกษาตึกแถวบริเวณท่าเตียน กรุงเทพฯ”
  5. ดร.พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีสาขาปรัชญา จากผลงานวิจัยเรื่อง “ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล”
  6. ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาปรัชญา จากผลงานวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน”
  7. ดร.พสุ เรืองปัญญาโรจน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาสังคมวิทยา จากผลงานวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหวจากแนวคิดทุนวัฒนธรรมไทยที่เคลื่อนไหวได้”
  8. ดร.สุกัญญา บุญศรี คณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน12 รางวัล ได้แก่

  1. ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “ข้อสะโพกเทียมชนิดมอดูล่ายูนิโพล่าที่เหมาะสมกับกายวิภาคศาสตร์ของคนไทย”
  2. ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานวิจัยเรื่อง “อุปกรณ์ฐานกระดาษร่วมกับเทคนิคการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดระดับเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสที่บ่งชี้ถึงระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดแมลงในเลือด”
  3. ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ และคณะ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานวิจัยเรื่อง “ตัวรับรู้เชิงสีบนสิ่งทอแบบไม่เจาะผ่านผิวหนังสำหรับบ่งชี้ภาวะสุขภาพ”
  4. รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะและคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “การปิดรยางค์หัวใจหัวบนซ้ายด้วยอุปกรณ์โอเมก้า- LAA Occluder Device เพื่อป้องกันอัมพาตในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดห้องบนพลิ้วที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ”
  5. ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานวิจัยเรื่อง “การตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับสมาร์ตโฟนสำหรับตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสตับอักเสบบี”
  6. ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชจากผลงานวิจัยเรื่อง “ชุดทอดสอบอิมมูโนโครมาโทกราฟีแบบแข่งขันร่วมกับระบบขยายสัญญาณด้วยซิลเวอร์สำหรับตรวจวัดปริมาณคอร์ติซอลในน้ำลาย”
  7. ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ และคณะ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาปรัชญา จากผลงานวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน”
  8. น.ส.พิมพ์ประภา พาลพ่าย และคณะ จากคณะครุศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง “SUK.tool: นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยเครื่องมือเล่าเรื่องดิจิทัล”
  9. รศ.ดร.จินตวีย์ คล้ายสังข์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง “CU Deep Smart Tool Kit: เรียนรู้โลกกว้างอย่างสร้างสรรค์ผ่านเลนส์”
  10. รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง“Smart Gaml& Smart Sensor: ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21”

11.รศ.ดร.จินตวีย์ คล้ายสังข์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง “iChat Smart: อุปกรณ์เทคโนโลยีสวมใส่เพื่อการติดตามการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเกมมิฟิเคชันสำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล”

12.ศ.ดร.จินตนา สรายุทธพิทักษ์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีสาขาการศึกษา จากผลงานวิจัยเรื่อง “ฟ.ฟันแข็งแรง: ชุดสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมการรักษาสุขภาพช่องปากด้วยสมาร์ตโฟนเอ็นโดไมรสโคป”

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า