ข่าวสารจุฬาฯ

เวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 23 เรื่อง “ตระหนัก ดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกัน โคโรนาไวรัส 2019”

เมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563  ณ ห้องประชุม ศ.กิตติคุณ ดวงเดือน พิศาลบุตร อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 23 เรื่อง “ตระหนัก ดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกัน โคโรนาไวรัส 2019” เพื่อเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ลดความตื่นตระหนักแก่ประชาชนเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งกำลังรบาดอยู่ในขณะนี้ โดยมี ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และกล่าวขอบคุณวิทยากร ดำเนินรายการโดย  ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล  รองอธิการบดีจุฬาฯ

วิทยากรผู้ร่วมเสวนาทั้ง 5 ท่านได้นำเสนอข้อมูลความรู้ในหัวข้อต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเรียนรู้และป้องกันโคโรนาไวรัส 2019 ประกอบด้วย  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ  หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของโรคปอดอักเสบจากโคโรนาไวรัส ลักษณะการติดต่อ เปรียบเทียบกับโรคซาร์ส และเมอร์ส  ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นำเสนอข้อมูลสถานการณ์โคโรนาไวรัสทั่วโลกและในประเทศไทย แนวทางการตรวจคัดกรอง การรักษาในปัจจุบัน นพ.เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยถึง มาตรการการควบคุมโรคในเขตเมือง การสร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันโรค การเดินทางในที่สาธารณะ ฯลฯ  พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาฯ การป้องกันตนเองจากโรคนี้ ในระดับองค์กร ระดับบุคคล การใช้หน้ากาก ชุดและอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค และ อ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ ผู้ช่วยคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม นำเสนอวิธีลดความวิตกกังวลจากการได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับโรคนี้

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า