รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวจุฬาฯ เปิดโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ภายในเวลา 6 ปี หลักสูตรปริญญาตรีแพทย์ – ปริญญาโทวิศวกรรมชีวเวช
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช มีจุดเด่นคือ บัณฑิตที่จบการศึกษาจะได้รับ 2 ปริญญา คือ ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาเพียง 6 ปี เป็นหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมชีวเวช ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเหมาะกับนิสิตแพทย์ที่มีศักยภาพ และความสนใจด้านวิศวกรรมชีวเวช ต้องการเป็นแพทย์นักวิชาการ นักวิจัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมชีวเวชที่สร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม
นิสิตในโครงการนี้จะเรียนรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) เช่นเดียวกับนิสิตแพทย์คนอื่น โดยนิสิตสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป วิชาเฉพาะ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และ/หรือเลือกเสรีในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้การรับรองได้ตามความสนใจ เพื่อเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโท และเมื่อเรียนรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตครบ 120 หน่วยกิต และมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด จะมีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช ที่ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 2 ปีได้ จากนั้นนิสิตที่ได้รับการคัดเลือก จะเรียนรายวิชาชั้นปีที่ 4 – 6 ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตร่วมกับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคนอื่นควบคู่ไปกับการสัมมนา และการทำวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในช่วงเวลาวิชาเฉพาะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน หรือช่วงนอกเวลา ทั้งนี้จะคัดเลือกและให้ทุนแก่นิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชจำนวน 10 คนต่อปีการศึกษา
การรับสมัครนิสิตเข้าสู่โครงการ สำหรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตปัจจุบันชั้นปีที่ 1 และ 2 คาดว่าจะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป ในส่วนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถสมัครสอบคัดเลือกได้ตามระบบ TCAS รอบที่ 1-3 โดยสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันเริ่มสมัครผ่านระบบ TCAS63 ในวันที่ 17-27 เมษายน 2563 รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ อีเมล aamdcu@gmail.com หรือฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2252-2702, 0-2256-4478
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หลักสูตรสหสาขาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นความร่วมมือหลักระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุดเด่นของหลักสูตรคือ ความร่วมมือที่เข้มแข็งของทั้งสองคณะที่ร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัยที่ท้าทาย และตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาที่พบอยู่จริงในการแพทย์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ หลักสูตร ยังได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์สายสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย อาทิ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ คณะสหเวชศาสตร์ เป็นต้น
หลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ประกอบด้วย 6 สาขาวิจัยครอบคลุมเทคโนโลยีการแพทย์ ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์โรค การรักษาโรค การฟื้นฟูผู้ป่วย รวมถึงการป้องกันการเกิดโรค ได้แก่ สาขา Medical instruments and biosensors สาขา Biomechanics สาขา Rehabilitation สาขา Medical Imaging สาขา Tissue engineering and Drug delivery system และสาขา Bioinformatics ที่ผ่านมาหลักสูตรฯ ได้สร้างสรรค์ research innovations จำนวนมาก ตัวอย่างผลงานของหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ร่วมกับภาควิชาต่างๆ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ อาทิ โครงเนื้อเยื่อสำหรับการสร้างหลอดเลือด และการสร้างกระดูก micro needle ที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาได้ ไม้เท้าที่มีสัญญาณเสียง แสงและการสั่นเพื่อกระตุ้นการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และเท้าเทียม ข้อสะโพกเทียม ที่มีการออกแบบเหมาะสมสำหรับสรีระผู้ป่วยคนไทย และคนเอเชีย เป็นต้น
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้