รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ในยุคที่สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้คนไทยเสพสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามเพศและวัย ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในมุมมองของนักมานุษยวิทยา” โดย รศ.ดร.จุลนี เทียนไทย ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้คำตอบเป็นอย่างดีเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไร
ผลงานวิจัยเรื่องนี้ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยกว่า 5 ปี มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิค Re-reading Analysis อาศัยองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในศาสตร์อื่นมาวิเคราะห์ใหม่ในมุมมองของนักมานุษยวิทยา ซึ่งสามารถนำงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Phenomena) เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ ในสังคมไทยซึ่งปัจจุบันยังมีงานศึกษาในเรื่องนี้อยู่น้อย สำหรับองค์ความรู้และผลการศึกษาที่ได้รับจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ใน วงกว้างในสังคมไทย เช่น การพัฒนาการศึกษา การสร้างนโยบาย ฯลฯ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป
รศ.ดร.จุลนี กล่าวถึงผลการวิจัยพบว่าสื่อสังคมออนไลน์สร้างการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Mobile Life หรือพลวัตวิถี ทำให้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่หายไป ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและการใช้งานต่างๆ สามารถทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ผลกระทบที่เป็นลักษณะเด่นในบริบทของสังคมไทยคือ สื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ามานั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม เนื่องจากโลกออนไลน์ได้สร้างพื้นที่ใหม่ในการนำเสนอตนเอง ผู้หญิงมีความกล้าในการนำเสนอตนเองมากขึ้นในสื่อของตน
รศ.ดร.จุลนี กล่าวว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำให้การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นกว่าการพบเจอกันบนโลกความจริงในสังคมไทย เนื่องจากคนไทยมีความเกรงใจ เขินอาย และมักไม่ค่อยพูดคุยกับคนแปลกหน้า แต่เมื่อมีสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นทำให้การปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าเป็นเรื่องปกติ คำศัพท์และรูปแบบของภาษาในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น เพศหญิง และเพศทางเลือก มีการสร้างและใช้คำศัพท์ใหม่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การตั้งใจสะกดผิด การเขียนย่อคำ หรือการนำภาษาต่างประเทศ มาใช้ เป็นต้น นอกจากนี้สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อการรวมตัวทางการเมืองในสังคมไทย โดยเฉพาะการสนับสนุนกลุ่มทางการเมืองที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางเมื่อเปรียบเทียบกับการรวมตัวทางการเมืองในอดีตที่ยังไม่มีสื่อสังคมออนไลน์
“วัยถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของคนมีความแตกต่างกัน สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มที่อยู่ในช่วงอายุ 61 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปริมาณมาก เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีเวลาและมีความต้องการเข้าสังคมเพื่อหากิจกรรมทำเพื่อคลายเหงา จะเน้นการใช้เพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อนเก่าและครอบครัว การติดตามเรื่องราวและพูดคุยระหว่างกัน มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อความบันเทิง แต่สื่อสังคมออนไลน์ก็ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนวัยนี้ จึงพบปัญหาการแชร์สิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะการแชร์เพราะความสงสาร การอยากช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ อาจเป็นเพราะวัยนี้มีความเห็นอกเห็นใจ ชอบทำบุญ ประกอบกับประสบการณ์ในการรู้เท่าทันของการใช้สื่อสังคมออนไลน์น้อยกว่าวัยอื่นๆ จึงถูกหลอกได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับสังคมผู้สูงอายุในด้าน Internet literacy คือการให้ความรู้ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและถูกทาง” รศ.ดร.จุลนี กล่าว
“การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในสังคมไทย (Cyber/Internet Bullying) เกิดขึ้นในสังคมตะวันตกมานานแล้ว ตอนที่เริ่มทำวิจัยชิ้นนี้พบว่าในสังคมไทยยังเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าเราเรียนรู้จากสังคมตะวันตก และป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ตามกลไกวัฒนธรรมของเรา รู้ว่าควรจะเรียนรู้และป้องกันอย่างไร ปัญหาเรื่องนี้จะเกิดขึ้นน้อยลง” รศ.ดร.จุลนี กล่าวในที่สุด
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้