รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 มีนาคม 2563
ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) พัฒนาเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิในกล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะ เพื่อควบคุมคุณภาพของโลหิตระหว่างการขนส่ง ตอบโจทย์การรักษาผู้ป่วยที่ต้องการเลือดในโรงพยาบาล
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 ณ ห้อง 203 ตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร และ รศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) ผศ.นพ.ดร.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ดร.นัยวุฒิ วงษ์โคเมท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย ดร.อมร จิรเสรีอมรกุล หัวหน้าวิศวกรวิจัยของบริษัทฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือกับบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ในการวิจัยและพัฒนาเซนเซอร์และระบบวงจรตรวจวัดอุณหภูมิที่ติดตั้งเข้ากับกล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะ เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของถุงโลหิตภายในกล่องตลอดระยะเวลาการขนส่ง พร้อมแจ้งเตือนหากระบบตรวจพบว่าอุณหภูมิของถุงโลหิตอยู่นอกเกณฑ์ปกติที่ได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์และบุคลากรของสถานพยาบาลในการจัดการกับโลหิตภายหลังการขนส่ง รวมทั้งต่อยอดองค์ความรู้ในการผลิตกล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะที่สามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งให้โลหิตมีคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ต้องการเลือดในการรักษาได้
ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร และ รศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) กล่าวว่า เซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิในกล่องขนส่งโลหิต เป็นโครงการแรกภายใต้ความร่วมมือระหว่าง PETROMAT กับบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและประเทศ โดย PETROMAT มีความเชี่ยวชาญเรื่องวัสดุเก็บความเย็น จึงได้ออกแบบกล่องขนส่งโลหิตให้มีลักษณะเบาและเก็บความเย็นได้มากขึ้น ภายในปีนี้จะจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 150 ชิ้นเพื่อให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทดลองใช้ต่อไป
ผศ.นพ.ดร.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะร้อนหรือเย็นเกินไปมีผลต่อจำนวนเม็ดเลือดและคุณภาพของเลือด อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเลือดเพื่อส่งต่อให้ผู้ป่วยควรอยู่ระหว่าง 1 – 10 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์ไม่เพียงแต่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยและโรงพยาบาลอื่นๆ ด้วย ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยในการตรวจติดตามเลือดที่อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ทดแทนวิธีการในปัจจุบันที่ใช้คนนำเลือดไปส่งถึงผู้ป่วยโดยบรรจุถุงเลือดในกระติกน้ำแข็ง
ดร.นัยวุฒิ วงษ์โคเมท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และ ดร.อมร จิรเสรีอมรกุล หัวหน้าวิศวกรวิจัย กล่าวว่า ทางบริษัทฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยี NFC ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับเซนเซอร์เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิ การตรวจโรคและสารเคมีต่างๆ โครงการความร่วมมือกับจุฬาฯ ในครั้งนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเก็บและขนส่งเลือดเพื่อส่งต่อไปให้ผู้ป่วยเพื่อให้คุณภาพเลือดอยู่ในมาตรฐานสากลซึ่งจะต้องมีการบันทึกข้อมูลอุณหภูมิไว้ตลอดเวลา โดยได้ออกแบบตัววัดอุณหภูมิ ทำการบันทึกไว้ในชิป โดยเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี NFC ในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ทราบว่าตลอดระยะเวลาในการขนส่งเลือด อุณหภูมิของเลือดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
พิธีบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จุฬาฯ อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับนิทรรศน์รัตนโกสินทร์จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “แผ่นดินรัตนโกสินทร์ : หลอมรวมราษฎร์ ผสานวัฒนธรรม”
จุฬาฯ – ซีพี ลงพื้นที่ จ.น่าน มอบหน้ากาก “POR-DEE” ให้บุคลากร นิสิตจุฬาฯ และประชาชนในพื้นที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้