ข่าวสารจุฬาฯ

ประกาศมาตรการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) รายที่ 1

เนื่องด้วยในวันที่ 15 มีนาคม 2563 ทางคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแจ้งว่ามีบุคลากรของคณะคนหนึ่งติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จากการตรวจโดยการเก็บสารคัดหลั่งบริเวณส่วนหลังโพรงจมูกและบริเวณคอหอยไปตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งให้ผลเป็นบวก ขณะนี้บุคลากรคนดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินตามมาตรการที่คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของมหาวิทยาลัยได้เตรียมการไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ได้ติดต่อกับโรงพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาบุคลากรคนดังกล่าว เพื่อยืนยันผลการตรวจวินิจฉัยโรค COVID–19 และในกรณีที่มีการยืนยันการติดเชื้อจะประสานกับทางโรงพยาบาลในการให้การดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างดีที่สุด
  2. ได้เริ่มดำเนินการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับบุคลากรคนดังกล่าว ทั้งคณาจารย์ นิสิต เจ้าหน้าที่ของคณะนิติศาสตร์ และสมาชิกในครอบครัวมารับการตรวจคัดกรองที่ศูนย์บริการสุขภาพของจุฬาฯ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและให้คำแนะนำต่อไป
  3. ให้คณะนิติศาสตร์ปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 16 – 22 มีนาคม 2563) เพื่อฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดตามมาตรฐานทางสาธารณสุขทั่วพื้นที่อาคารพินิตประชานาถ และอาคารเทพทวาราวดี และให้งดการเรียนการสอนทุกช่องทางรวมทั้งช่องทางออนไลน์ การประชุม การนัดหมาย การพบปะ การจัดกิจกรรมทุกรายการ เพื่อลดความเสี่ยงของการสัมผัสระหว่างบุคคล และเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสำหรับคณะและมหาวิทยาลัยในการควบคุมภาวะการแพร่ระบาด
  4. ทำการสอบสวนวงจรการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรคนดังกล่าว เพื่อสามารถกำหนดให้บุคลากรและนิสิตจุฬาฯ ที่อยู่ในสถานที่เดียวกับบุคลากรผู้นี้ ภายในระยะเวลา 14 วัน ก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2563 ลาหยุดเพื่อกักบริเวณดูอาการเป็นเวลา 14 วัน นับจากวันที่ 15 มีนาคม 2563 โดยไม่ถือเป็นวันลา หากมีอาการน่าสงสัยว่าจะติดเชื้อ ทุกคนในข่ายดังกล่าวสามารถติดต่อศูนย์บริการสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอรับการตรวจคัดกรองโดยทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  5. หากพบว่ามีคณาจารย์ นิสิต เจ้าหน้าที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จากการสัมผัสกับบุคลากรคนดังกล่าว ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยินดีจะส่งตัวและรับผิดชอบดูแลการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า