ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ พร้อมแล้วกับการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรวดเร็วและมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกวันนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ปรับการเรียนการสอนทุกรายวิชาให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ (ตั้งแต่วันที่ 16 มีนามคม เป็นต้นมา) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 และลดความเสี่ยงของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ ในการสัมผัสโรคโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจากการทดสอบระบบการเรียนการสอนออนไลน์แล้วพบว่า แม้ระบบจะมีติดขัดบ้าง แต่ก็สามารถทำการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างราบรื่น  สนุกสนานทั้งผู้เรียนผู้สอน ถือเป็นก้าวสำคัญในการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ Digital Transformation ด้านการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ

“ซักซ้อมการใช้ Zoom ทำงานกลุ่มย่อย ในรายวิชาศึกษาทั่วไป (ท่องโลก) ปีหนึ่ง 400 คน 6 ห้อง จากการสำรวจพบว่าอุปกรณ์พร้อม ที่มีปัญหา คือ ระบบไวไฟและอินเตอร์เน็ตสำหรับการดำเนินการจริง สรุปว่านิสิตสามารถตั้งกลุ่มทำงานได้เร็วกว่าอาจารย์ค่ะ” รศ.ดร.กุณฑินี มณีรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ วันที่ 13 มีนาคม 2563
ที่มา: https://www.facebook.com/groups/152294465890567/permalink/158491828604164/

“รายงานครับกับเด็กอินเตอร์ปี1 ใช้Zoom เมื่อเช้า ดีมาก แชร์ PPT ก็ง่าย ที่สำคัญ participation ดีมาก ขาดเรียนน้อย และมี interaction ที่ดี” อาจารย์ ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

นอกจากนี้ อาจารย์บางท่านยังได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนิสิตด้วย เพื่อประโยชน์สำหรับการตัดสินใจของอาจารย์ หรือการวางแผนเชิงนโยบาย เช่น อาจารย์ ดร.อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างนิสิตจุฬาฯ 198 คน (ร้อยละ 90 เป็นนิสิตปริญญาตรี) พบว่า

  • นิสิตใช้ 2 อุปกรณ์ในการเรียน (ค่ามัธยฐาน; มือถือกับ tablet นิยมสุด)
  • นิสิตส่วนใหญ่มีทางเลือกในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ 2 ช่องทาง (ค่ามัธยฐาน; เน็ตมือถือ กับเน็ตที่บ้าน/หอ นิยมสุด)
  • นิสิตจะต้อง log in เข้า 2 platform สำหรับคลาสออนไลน์ของเค้า (ค่ามัธยฐาน)
  • Platform ที่ใช้กันมาก 3 อันดับแรกที่มีการ mention สูงสุดคือ Blackboard, Zoom และ Google Hangout/Meet/Classroom
  • ขณะนี้ (16 มีนาคม) นิสิตสามารถเรียนออนไลน์ได้แล้ว 50% ของวิชาที่นิสิตลงทะเบียน** (ค่ามัธยฐาน) แต่นิสิตย้ำมาว่าถ้าไม่เรียนออนไลน์ทั้งหมดก็ยังมีต้นทุนและภาระที่จะต้องมามหาวิทยาลัยครับ

ที่มา อาจารย์ ดร.อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ  https://bit.ly/2UgnbIn

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า