รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มีนาคม 2563
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ข่าวเด่น
ตามที่มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยให้นิสิตหรือบุคลากรหลีกเลี่ยงหรืองดเดินทางไปยังต่างประเทศระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตหรือนักวิจัยจากต่างประเทศที่มาศึกษาหรือทำวิจัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางกลับภูมิลำเนาของตน ณ ต่างประเทศได้ จึงเห็นสมควรกำหนดแนวทางการอนุมัติหรืออนุญาตไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับดูแลพิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตให้นิสิต นักวิจัยหลังปริญญาเอก หรือนักวิจัยจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเดินทางมาศึกษาหรือมาทำวิจัยด้วยทุนส่วนตัวหรือทุนใดก็ตาม เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเป็นการถาวรหรือเป็นการชั่วคราวได้
ข้อ ๒ ในการอนุมัติหรืออนุญาตตามข้อ ๑ ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับดูแลนำความเห็นของบุคคลดังต่อไปนี้มาประกอบการพิจารณาด้วย (๑) อาจารย์ที่ปรึกษา ประธานหรือผู้อำนวยการหลักสูตรที่นิสิตสังกัด กรณีที่เป็นนิสิตจากต่างประเทศ (๒) หัวหน้า ผู้ควบคุม หรือผู้กำกับดูแล กรณีที่เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกหรือนักวิจัยจากต่างประเทศ
ข้อ ๓ เมื่อได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นการชั่วคราวแล้ว นิสิต หรือนักวิจัยหลังปริญญาเอก หรือนักวิจัยจะกลับมาศึกษาหรือมาทำวิจัยได้ก็ต่อเมื่อพ้นจากวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ หรือวันอื่นตามที่กำหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัย และเมื่อเดินทางกลับมาแล้ว จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ของมหาวิทยาลัยและของรัฐบาลโดยเคร่งครัด
ข้อ ๔ กรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็น หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับดูแลอาจขออนุมัติปรับระยะเวลาการศึกษาหรือระยะเวลาตามสัญญารับทุนจากผู้มีอำนาจพิจารณาตามกฎ ระเบียบ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๕ กรณีมีปัญหาหรือข้อขัดข้องในการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับดูแลวินิจฉัยชี้ขาด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์) อธิการบดี
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ กับงาน Night Museum at Chula
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้